Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82140
Title: ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษา : หอพัก อะพาร์ตเมนต์
Authors: ภนิตา ชูวงศ์วณิช
Advisors: ศารทูล สันติวาสะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ภาษีที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน -- การประเมิน
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีการประเมินการจัดเก็บภาษีตามสภาพลักษณะของสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเพื่อศึกษาการประเมิน การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ที่ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงถึงประเภทของทรัพย์สินที่ผูกโยงกับการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน เช่น หอพัก อะพาร์ตเมนต์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสียภาษีอัตราที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย และไม่เสียภาษีในอัตราเชิงพาณิชย์ แม้ว่ามีการจดทะเบียนพาณิชย์ อีกทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและข้อเสนอแนะสำหรับการใช้วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหมาะสมของประเทศไทย โดวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัญหาการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 และพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และผู้วิจัยได้เปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศอังกฤษเพื่อใช้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย จากผลการศึกษาพบว่า การประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 การแบ่งประเภททรัพย์สินตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้กำหนดให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ กับที่อยู่อาศัย เสียภาษีในอัตราเท่ากัน โดยไม่พิจารณาว่าหอพัก อะพาร์ตเมนต์ถือเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ ก็นับว่าเป็นการกำหนดเกณฑ์ที่เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษี จึงได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินราคาและการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินสำหรับธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเม้นต์ ในประเทศอังกฤษเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย จึงพบว่าประเทศอังกฤษได้มีการวางหลักเกณฑ์ประเมินมูลค่าทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ การคำนวณภาษีด้วยวิธีคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินและใช้วิธีการประเมินค่าเช่ารายปีสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ในทางธุรกิจที่ควรได้รับเป็นฐานภาษีหรือวิธีค่ารายปี ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสียของการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยควรแบ่งระบบการจัดเก็บภาษีเป็น2ระบบเหมือนประเทศอังกฤษเพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าหากเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัยไม่ได้หาประโยชน์ จะใช้วิธี Council Tax เป็นการคำนวณภาษีจากมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากเป็นสถานที่ที่ไม่มีการพักอาศัยหรือไว้ใช้หาประโยชน์ ใช้วิธี Non-Domestic Rate ประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยพิจารณารายได้ ซึ่งมีความคล้ายกับวิธีค่ารายปีที่ประเทศไทยเคยใช้ประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82140
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.160
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.160
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480229634.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.