Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82145
Title: การตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจ:กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Responses to PM2.5 and Socioeconomic Conditions: A Case Study of Motorcycle Taxi Drivers in Din Daeng District, Bangkok
Authors: ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร
อุ่นเรือน เล็กน้อย
ภาณุภัค จารุสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปศาสตร์
Subjects: มลพิษทางอากาศ
คุณภาพอากาศ
การควบคุมฝุ่น
Issue Date: Jan-2565
Publisher: เครือข่ายส่งเสริมงานวิชาการทางสังคมศาสตร์
Citation: วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 5, 2 (ม.ค. - เม.ย. 2565) หน้า 89-102
Abstract: บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จำนวน 312 คน จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการการตอบสนองในเรื่องการใส่หน้ากาก N95 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่มีการใส่หน้ากาก N95 มีการสวมใส่ทั้งวันร้อยละ 30.08% และกลุ่มที่ใส่บ้างไม่ใส่บ้าง 21.05% และกลุ่มที่ไม่ใส่เลย 47.08% โดยผู้ขับขี่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัยต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,577.53 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือ 492,190 บาท /ปี จากการวัดระดับจำแนกตามสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ในด้านของระดับการศึกษา เงินเดือน และการมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจ โดยการตอบสนองและผลกระทบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ออกไปทำงานในวันที่ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน เพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย เพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจโรคทางเดินหายใจ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย และเงินเดือนมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจโรคทางเดินหายใจ และผลการวัดการมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจ โดยวิเคราะห์ Chi-square พบว่า การมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจมีความสัมพันธ์ต่อเพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจโรคทางเดินหายใจ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study behavioral responses to small dustparticulate matter 2.5 microns (PM2.5) among motorcycle taxi drivers in Din Daeng District, Bangkok. By using a questionnaire, the sample group consisted of 312 motorcycle drivers from the Yamane sampling method at 95% confidence level.The respondents' behavioral responses regarding N95-mask wearing were divided into three groups: 30.08 % of those wearing all day; 21.05 % of those wearing not unusally; and 47.08% of those not wearing.By average, the drivers spent ฿ 1,577.53 /household/year or ฿492,190 /year on the masks, based on the level of measurement classified by socioeconomic conditions: education level, salary, and the presence of congenital diseases related to respirations. Due to the behavioral responses, there were three implications: going to work regardless of the dust accumulation exceeding standard value; increasing cost of mask purchase; and increasing cost .of respiratory disease tests. The results showed that the level of education was related to the increase in cost of purchasing masks; and salaries were associated with an increasing cost of respiratory disease tests. With the Chi-square analysis, there were the respiratory diseases related with an increasing cost of mask purchase at the 0.05 level statistically.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82145
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/assr/article/view/259702
ISSN: 2730-3187
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_85125.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.78 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.