Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82158
Title: ความสาคัญและการรับรู้ต่อเกณฑ์มาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในมุมมองของผู้รับบริการร้านยา
Other Titles: Importance and awareness of the good pharmacy practice from drugstore clients’ perspectives
Authors: ภัณฑิรา ปริญญารักษ์
กิติยศ ยศสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: เภสัชกรรม
เภสัชวิทยา
ร้านขายยา
Issue Date: Jul-2565
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Citation: วารสารเภสัชกรรมไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14,3 (ก.ค.-ก.ย. 2565) หน้า 701-711
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความสำคัญและการรับรู้ต่อเกณฑ์มาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (Good Pharmacy Practice: GPP) ในมุมมองของผู้รับบริการร้านยา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนประเมินความสำคัญและการรับรู้ข้อกำหนด GPP ที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ (สำคัญมาก สำคัญน้อย และไม่สำคัญ สำหรับประเมินความสำคัญ หรือ ทราบเป็นอย่างดี เคยได้ยินข้อมูลนี้มาบ้าง และไม่ทราบเลย สำหรับประเมินการรับรู้) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เคยรับบริการร้านยาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม 2564 ผ่าน Google Form ซึ่งประชาสัมพันธ์ผ่านทางกลุ่ม Facebook และกลุ่ม Line ที่มีประชาชนทั่วไปเป็นสมาชิก ผลการวิจัย: ผู้รับบริการตอบแบบสอบถามจำนวน 388 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 76.3) ค่ามัธยฐานอายุ 29 ปี (พิสัยระหว่างควอไทล์ 23 – 40 ปี) จำนวนผู้รับบริการที่ตอบว่าข้อกำหนด GPP ที่เป็นข้อบกพร่องวิกฤต มีความสำคัญมาก อยู่ในช่วงร้อยละ 85.1 - 93.1 ในด้านวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนและร้อยละ 59.6 - 89.7 ในด้านสถานที่และอุปกรณ์ โดยข้อที่มีสัดส่วนผู้รับบริการให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ต้องไม่มีการจ่ายยาหมดอายุในร้านยา (ร้อยละ 93.1) และต่ำที่สุด คือ ต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูงให้บริการ (ร้อยละ 59.6) ข้อที่ผู้รับบริการทราบสูงสุดคือ ร้านยาต้องไม่มีการจ่ายยาหมดอายุ (ร้อยละ 77.3) และต่ำที่สุดคือ พื้นที่ของร้านยาต้องไม่เล็กกว่า 8 ตารางเมตร (ร้อยละ 18.5) อย่างไรก็ตามข้อกำหนดที่ผู้รับบริการส่วนใหญ่เห็นว่ามีความสำคัญระดับสูงสุด เช่น เภสัชกรต้องซักถามข้อมูลที่จำเป็นจากผู้รับบริการก่อนจ่ายยา และยาที่ได้รับต้องมีฉลากยาที่ชัดเจน (ร้อยละ 94.1 และ 93.6 ตามลำดับ) ไม่ถูกจัดเป็นข้อบกพร่องวิกฤตในการตรวจประเมินตามข้อกำหนด GPP สรุป: ข้อกำหนด GPP ที่เป็นข้อบกพร่องวิกฤตในด้านวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนมีความสำคัญในมุมมองของผู้รับบริการ แต่ในด้านสถานที่และอุปกรณ์มีความสำคัญน้อย จึงควรมีมาตรการเพิ่มการรับรู้และความตระหนักของผู้รับบริการ
Other Abstract: Objective:To exploretheimportance and awareness of the Good Pharmacy Practice (GPP) standard among drugstore clients.Methods: The study was a cross-sectional survey using an online questionnaire consisting of 3-point scales for importance and awareness of the GPP (very important, not very important, and not important for importance scale and fully aware, partially aware, and not aware for awareness scale). The subjects wereclients using drugstore services in the previous two years. Thesurvey through the GoogleForm conducting during June 20thand July 20th2021 was distributed in Facebook public groups and Line public groups. Results:There were 388 clients completing the questionnaire. Majority of subjects were female (76.3%) with median age of 29 years (IQR: 23 –40 years). Proportion of clients rating “critical defect” standards (CDS) in the GPP as very important was 85.1-93.1% for the CDS in pharmacy practice domain, and 59.6 -89.7% for physical structure and equipment domain. The CDS with the highest proportion of clients rating as very important was "no expired medications were dispensed in pharmacy" (93.1%), while that with the lowest proportion rating as very important was "a weight scale and height ruler must be available" (59.6%). The CDS with the highest proportion of clients reporting as fully aware was "no expired medications were dispensed in pharmacy" (77.3%), and that with the lowest proportion was "pharmacy space must not be smaller than 8 square meters" (18.5%). However, the GPP items with the highest proportion of clients reporting as very important were not included in the CDS such as "before dispensing medication, pharmacists must obtain the relevant patient information" and "understandable labels of medications must be provided" (94.1 and 93.6% of clients, respectively). Conclusion:The CDSs in pharmacy practice domain were considered important in the clients’ perspectives, but those on physical structure and equipment were considered having low importance. As a result, measures are needed to improve clients' awareness.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82158
URI: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/251837
ISSN: 1906-5574
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_85141.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.78 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.