Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82176
Title: แนวทางปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Guidelines for Improvement of the Curriculum of Ecclesiastical Pali Studies of Thai Sangha
Authors: ชาติเมธี หงษา
วัชระ งามจิตรเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา
Subjects: พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน
พุทธศาสนา -- หลักสูตร
การศึกษาทางพุทธศาสนา
Issue Date: 2563
Publisher: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยเรื่อง “แนวทางปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยให้มีความทันสมัยและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า แนวทางปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คือ ควรให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาบาลีควบคู่กับความรู้หลักคำสอนในคัมภีร์ให้ลึกซึ้งด้วย ควรมีการเรียนการหลักธรรมและเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสอนเชิงวิเคราะห์ สำนวนการแปลภาษาบาลีเป็นไทยควรเป็นภาษาร่วมสมัยหลากหลายสำนวนเพื่อให้ผู้สนใจทั่วไปได้เลือกศึกษามากขึ้น เนื้อหาในหลักสูตรควรจะลดน้อยลงแล้วไปเพิ่มรายวิชาที่เป็นประโยชน์ต่องานคณะสงฆ์และสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง เช่น วิชาเผย แผ่ พระพุทธศาสนาและการใช้เหตุผล ควรเรียนพระไตรปิฎกคู่กับอรรถกถาทุกชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนแตกฉานในพระไตรปิฎกยิ่งขึ้นกว่าหลักสูตรเดิมซึ่งเรียนแต่อรรถกถาอย่างเดียว หนังสือเรียนอรรถกถาก็ยังต้องคงไว้ แต่ควรเพิ่มหนังสือ ตำรา และงานวิจัยเข้ามาในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาควบคู่กับศาสตร์อื่นด้วย ควรท่องจำเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นเท่านั้นและควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยการเรียนการสอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวัดและประเมินผลก็ควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักสูตรสมัยใหม่ คือมีคะแนนระหว่างภาคกับปลายภาคและมีการสอบปีละสองครั้ง ผู้สอนควรผ่านการเรียนหรือฝึกอบรมวิชาชีพครูเพื่อให้มีทักษะและจิตวิทยาในการสอน ควรมีการฝึกอบรมการบริหารจัดการสำนักเรียน ให้แก่อาจารย์ใหญ่หรือเจ้าสำนักเรียน ควรมีโครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตรเหมือนหลักสูตรสมัยใหม่ เช่น มีอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และคำอธิบายรายวิชา ควรปรับปรุงหลักสูตรที ละน้อยอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากง่ายไปหายากและควรรีบดำเนินการเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562 และข้อบังคับคณะกรรมการการศึกษา พระปริยัติธรรมว่าด้วยโครงสร้างการบริหารงานและการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมและสถานศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2563
Other Abstract: This research entitled “Guidelines for Improvement of the Curriculum of Ecclesiastical Pali Studies of Thai Sangha” is aimed to make the curriculum a modern and more efficient one. From the study, it is found that guidelines for improvement of the curriculum of ecclesiastical Pali studies of Thai Sangha should be as follows. Students should study both Pali and the knowledge of the doctrines in the scriptures profoundly. Buddhist principles and knowledge on Buddhism should be taught in the critical way. Thai translation of the Pali language should be made in the contemporary and various styles in order to be more choices for general people. The current contents in the curriculum should be decreased whereas other subjects that are useful for the Thai Sangha and consistent with the country’s situation should be added, e.g. the subject on Buddhist propagation and reasoning. If any, the Tipitaka and its’ commentaries should be studied together in order to make the students more mastering the Tipitaka than in the current curriculum in which only the commentaries are studied. The commentary texts must remain but should be reduced in their quantities and other texts and research works should be used in the study so as to provide the students with the knowledge both on Buddhism and other sciences. Only the essential or necessary contents should be learnt by heart and modern technologies should be used to improve the quality of the learning. Measurement and evaluation in the curriculum must be also changed in accordance with the modern curriculum, i.e. there must be marks in the mid-term examination and final examination that must be held twice a year. Instructors are required to undergo teaching training in order to be skillful and have psychology in teaching. Training on the education administration and management should be carried out for the principals and the heads of the Pali schools. The structure and factors of the curriculum should be the same as the modern curriculum, for example, there are permanent lecturers, responsible lecturers of the curriculum, and course descriptions. The curriculum should be gradually but continuously improved, starting from easy to difficult. Again, the improvement should be hurried to keep up with the changes of the country and comply with Phra Pariyattidhamma Education Act, B.E. 2562 as well as Regulations of the Board of the Phra Pariyattidhamma Education Commission on the Structure of the Administration and Management of Phrapariyattidhamma Education and the Phra Pariyatidhamma Education Institute, B.E. 2563.
Description: ความเป็นมาและหลักสูตรของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย -- หลักสูตรการศึกษาใหม่และปัญหาของหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี -- แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82176
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2020.1
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.RES.2020.1
Type: Technical Report
Appears in Collections:CUBS - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatmethee_Ho_Res_2563.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)6.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.