Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82181
Title: | ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: สภาพการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 |
Other Titles: | Educational Inequality: Online Learning Contexts during the COVID-19 Pandemic |
Authors: | อรรณพ เยื้องไธสง ศุภวงค์ โหมวานิช รัชนก อุ้ยเฉ้ง อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | โควิด-19 (โรค) การศึกษาขั้นประถม การเรียนการสอนผ่านเว็บ |
Issue Date: | Apr-2565 |
Publisher: | วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา |
Citation: | วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา 4,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2565) หน้า 13-29 |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของครูผู้สอน โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากครูผู้สอนระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา จำนวน 13 คน จากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร เทศบาลตำบล และนอกเขตเทศบาล ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลึกจากบทสัมภาษณ์และนำเสนอในรูปของพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษายังคงมีความสำคัญต่อระบบการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดที่รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลกระทบทั้งครูผู้สอนด้านทักษะและความสามารถ สำหรับผู้เรียนผลกระทบที่ได้รับมีความสัมพันธ์ไปกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนรู้ได้และเป็นสภาพปัญหาเรื้อรังที่ประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะมีความพยายามมาอย่างยาวนานในการลดความเหลื่อมล้ำ ในประเด็นดังกล่าว การก้าวข้ามสภาพปัญหาดังกล่าวในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของครูผู้สอนจึงแสวงหาทางแก้ปัญหาในระยะสั้นตามบริบทของขีดจำกัดที่มี เช่น การจัดทำใบงานและเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการบันทึกวิดิโอสำหรับการเรียนย้อนหลัง เป็นต้น หากแต่ในระยะยาวเป็นโจทย์หนึ่งที่ประเทศต้องก้าวข้ามอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุที่ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความยากจนคือ เป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ทุกประเทศจะต้องก้าวข้ามให้ได้ภายในปี 2030 |
Other Abstract: | Possible online learning management issues during the Novel Coronavirus 2019 (COVID-19) pandemic were explored, with instructor solutions for them. Qualitative research was done with data gathered by in-depth interview. Samples were 13 preschool and primary school teachers in different municipalities and subdistricts. Data was analyzed by varied techniques and analytically described. Results were that educational media and technologies continue to play significant roles in the educational system of Thailand. Especially during the pandemic, online teaching models were an essential part of distance learning, affecting teachers in-charge in terms of a lack of information technology (IT) skills and capabilities. For learners, effects were relevant to economic disparities, since for most, effective learning equipment remains inaccessible. Despite efforts to reduce financial gaps among Thai students, economic inequality is still an unresolved chronic issue. To resolve the aforementioned problems with limited school budget resources, instructors have invented short-term solutions, such as creating self-study worksheets and materials as well as instructional videos available to students for study and review after classes. Nevertheless, these solutions may not be effective in the long run. Thailand must urgently tackle inequality before 2030 to meet sust |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82181 |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JMARD/article/view/254962 |
ISSN: | 2672-9938 |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Thai Journal Article |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
html_submission_85208.html | บทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.76 kB | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.