Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82292
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ
Other Titles: The effect of self-efficacy enhancement program on recurrence prevention behaviors among urolithiasis patients
Authors: กนกพร ตรงเมธี
Advisors: ระพิณ ผลสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะที่มาผ่าตัดที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน มี 4 ขั้นตอน 1) การชักจูงด้วยคำพูด 2) การเรียนรู้ผ่านตัวแบบ 3) ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ 4) การกระตุ้นทางร่างกายและทางอารมณ์  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเท่ากับ .86 และมีค่าความเที่ยงทดสอบโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80 และเครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบวัดสมรรถนะแห่งตน มีค่าความตรงเท่ากับ .87 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปดังนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในกลุ่มควบคุมเท่ากับ 53.36 (SD = 3.70) และกลุ่มทดลองเท่ากับ 61.76 (SD = 3.55) ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -8.195, df = 48, p < .001)  
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of self-efficacy enhancement program on recurrence prevention behaviors among urolithiasis patients. A total 50 patients with urolithiasis were recruited from the surgical ward, King Chulalongkorn Memorial Hospital, which was assigned to experimental and control groups.The experimental instrument was the self-efficacy enhancement program comprised of 4 sessions: 1) Verbal Persuasion, 2) Modeling, 3) Mastery Experiences, and 4) Physiological and Emotional Arousal. The urolithiasis recurrence prevention behaviors questionnaire was used to measure recurrence prevention behaviors. It was tested for Content validity index by five qualified experts. The Content validity index was .86 and Internal consistency reliability  was  Cronbach's alpha coefficient .80. The perceived self-efficacy questionnaire was used to measure self-efficacy. The Content validity index was .87 and Internal consistency reliability was .80. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The result revealed that the mean score of urolithiasis recurrence prevention behaviors of the control group was 53.36 (SD = 3.70) and experimental group was 61.76 (SD = 3.55). The mean score of urolithiasis recurrence prevention behaviors in the experimental group who attended the self-efficacy enhancement program was significantly higher than the control group (t = - 8.195, df = 48, p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82292
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.962
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.962
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977151036.pdf10.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.