Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82331
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล วิรุฬห์รักษ์-
dc.contributor.authorนภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:50:37Z-
dc.date.available2023-08-04T05:50:37Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82331-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง นาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานของภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า ชีวิตและผลงานของภัทราวดีแบ่งได้เป็น 7 ช่วงคือ (1)สั่งสมศิลปวัฒนธรรมและนาฏยศิลป์ไทยจากการเรียนและประสบการณ์ในครอบครัว (2)จากการเรียนและการแสดงในต่างประเทศ (3)การซึมซับและแสวงหาความแปลกใหม่จากการมองต่างมุมในวงการแฟชั่น (4)การสร้างความชำนาญด้วยการเข้าสู่วงการแสดงอาชีพ (5)การสร้างอาชีพการแสดงของตนเอง (6)การสร้างนักแสดงรุ่นใหม่กับแนวคิดใหม่ๆด้วยโรงเรียนการแสดงและโรงละครซึ่งเป็นพื้นที่ทดลองสร้างสรรค์ (7)สร้างแนวคิดและวิธีแสดงใหม่ด้วยการนำคุณค่าของเนื้อหารูปแบบและจารีตเดิมมาศึกษาพัฒนาจนเกิดเป็นมิติใหม่ในวงการนาฏกรรมไทย จากการวิเคราะห์ผลงานตัวอย่าง 8 เรื่องพบว่า นาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน มี 10 ประการดังนี้ (1)การสร้างสรรค์โดยทำให้แตกต่างจากการแสดงจารีตเดิม (2)การใช้ปัจจัยสากลมาผสมผสานกับ"รากไทย" (3)การสร้างเนื้อหาจากวรรณกรรม เหตุการณ์ในชีวิตจริงและปัญหาสังคมรวมถึงธรรมะมาพัฒนาเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ (4)การดำเนินเรื่องโดยนำสารเดิมมาตีความใหม่ด้วยมุมมองใหม่อย่างมีเหตุผล (5)การยึดหลักความสมจริงตามธรรมชาติของมนุษย์สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมชาติของโลก (6)การทำงานด้วยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ร่วมงานทำให้เกิดคุณภาพในการสร้างงาน (7)การคำนึงถึงความประหยัดแต่ทรงคุณค่าทางศิลปกรรม (8)การประยุกต์ใช้พหุวัฒนธรรมโดยดำรงคุณค่าเดิมไว้ในผลงานใหม่ (9)การสร้างงานที่คำนึงถึงภูมิธรรมของคนดูเป็นหลัก (10)การสร้างงานที่สอดคล้องกับพุทธธรรมที่ว่าด้วยปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ ผลวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาเพื่อศึกษาชีวิตและผลงานของศิลปินผู้บุกเบิกแนวทางใหม่ ๆ ในวงการนาฏกรรมต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe thesis on "Dramatization of Patravadi Mejudhon" is the qualitative research aims at studying the performance concept of Patravadi Mejudhon, a national artist. The research method is based on documentary, interviews, participatory and non-participatory observations covering the period from 1957-2020. The research finds that her life and work has 7 stage of development as follows: 1)gaining Thai dance in her early age from schools and family, 2)adding international skill from studying abroad, 3)absorbed and searched to create something different from fashion world, 4)developed entrepreneurship in performing arts industry, 5)started her own performing arts business, 6)nurtured new generation in performing arts through schooling and her own theatre as their creative space, 7)maintained cost consciousness in all production aspects, 8)applying multicultural elements yet maintain their value in her new productions, 9)producing her performance based upon audience background, 10)her dramatization is coincide with Buddhist Dharma on acquiring knowledge ingeniously.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.598-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.subject.classificationMusic and performing arts-
dc.titleนาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน-
dc.title.alternativeDramatization of Patravadi Mejudhon-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.598-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281014235.pdf10.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.