Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82639
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุธนะ ติงศภัทิย์ | - |
dc.contributor.advisor | เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย | - |
dc.contributor.author | คมชนัญ โวหาร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-04T06:35:35Z | - |
dc.date.available | 2023-08-04T06:35:35Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82639 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการโดยศึกษาแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิต นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นรูปแบบจัดการเรียนรู้ 2) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 47 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา และ แบบสอบถามสากลเรื่องกิจกรรมทางกายชุดสั้น (IPAQ-short form) สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีหลักการ 4 ประการ คือ 1) การสร้างสถานการณ์ในชั้นเรียนเพื่อประยุกต์ใช้นอกชั้นเรียน 2) การจัดให้ผู้เรียนได้สรุปหลักการและประเมินตนเอง 3) การจัดให้ผู้เรียนนำประสบการเดิมมาประยุกต์ในบริบทใหม่ 4) การให้ผู้เรียนได้มีการวางแผน นำเสนอแนวทาง ตรวจสอบและประเมินผลสิ่งที่ได้เรียน โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมความพร้อม 2) สร้างความเข้าใจในหลักการ 3) สร้างสถานการณ์ 4) วางแผนยุทธศาสตร์ 5) สรุปและประเมินผล 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา 4 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มทดลองมึระดับกิจกรรมทางกายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีระดับกิจกรรมทางกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | - |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to develop a learning management model for Physical Education by applying the concept of learning transfer and strategic life planning to enhance physical activity in daily life of upper secondary school students and to evaluate the effectiveness of the instructional model. The research was carried out in 2 phase. 1) The development of instructional model is carried out by studying the concepts of learning transfer and strategic life planning. The data were analyzed and synthesized as instruction model. 2) The evaluating of instructional model. The sample were 47 grade 11 students; who divided into 2 groups: 25 students in the experimental group and 22 students in the control group. The research tool used to The measurement of learning achievement in physical education and The International Physical Activity Questionnaire – Short Form. Data were analyzed by the Arithmetic Mean, The standard Deviation, t-test. The findings of the study were as follows: 1. The developed of physical education instructional model consists of the following components: 1) Principles of instruction model, 2) Objectives of instructional model, 3) Steps of instructional model, 4) Measurement and Evaluation of instructional model. The principle of a physical education instructional model by applying transfer of learning approach and strategic life planning consisted of 4 principles; 1) Creating classroom situations for use outside of class. 2) Providing students with a summary of principles and self-assessment. 3) Arrangement for learners to apply their previous experiences in a new context. 4) Arrangement for learners planning, presenting guidelines, checking and evaluating what they have learned. There are 5 steps in instiructional: 1) Preparation, 2) Principles Understanding, 3) Situation Creation, 4) Strategic Planning, 5) Summary and Evaluation. 2. The effectiveness of an instructional model was investigated by implementing the model with students of purposive sampling. The finding of this study revealed that: 1) The students in the experiment group had higher four components of learning achievement in physical education than the control group with a statistical significant at .05. 2) The students in the experimental group performed higher after being taught according to the model with a statistical significance at .05. 3) The students in the experimental group had higher physical activity in daily life than the control group with a statistical significance at .05. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.981 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย | - |
dc.title.alternative | Development of physical education instructional model by applying transfer of learning approach and strategic life planning to enhance physical activity in daily life of upper secondary school students | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สุขศึกษาและพลศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.981 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5984204827.pdf | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.