Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82660
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โสมฉาย บุญญานันต์ | - |
dc.contributor.advisor | ศศิลักษณ์ ขยันกิจ | - |
dc.contributor.author | ณชนก หล่อสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-04T06:35:44Z | - |
dc.date.available | 2023-08-04T06:35:44Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82660 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (1) ระยะพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ (2) ระยะการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ และ (3) ระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ตัวอย่าง คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 18 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวม 48 ครั้ง โดยใช้แบบแผนการทดลอง Single Subject Design ประเภท A-B-A-B Design ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ เป็นการเรียนรู้เชิงรุก เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักบทบาทของตนเอง และแสดงออกทางความคิด การกระทำ และอารมณ์อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ (1) การใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการพัฒนาประสบการณ์ทางปัญญาผ่านประสาทการรับรู้ต่าง ๆ (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น ในการเลือกและตัดสินใจ ลองผิดลองถูก และลงมือทำผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (3) การจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก่ การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และการกำกับตนเอง และ (4) การจัดให้เด็กเกิดกระบวนการคิดผ่านการตั้งคำถาม การสาธิต และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเกิดแรงบันดาลใจ (2) ขั้นแบ่งปัน และ (3) ขั้นลงมือทำ และ 2) เด็กมีความสามารถคิดบริหารจัดการตนสูงขึ้น โดยทุกองค์ประกอบมีคะแนนสูงขึ้น แสดงให้เห็นผ่านพฤติกรรมเมื่อใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ประกอบด้วย (1) การยั้งคิดไตร่ตรอง เด็กสามารถอดทนรอคอย จดจ่อ ไม่ขัดจังหวะหรือพูด ปฏิบัติและยอมรับกฎกติกาโดยไม่ต่อต้าน (2) การยืดหยุ่นความคิด เด็กสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ได้ แก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และปรับเปลี่ยนหรือหาวิธีอื่นเพื่อทำกิจกรรมต่อไปเมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย (3) การควบคุมอารมณ์ เด็กแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสม ปรับอารมณ์ได้ดีขึ้น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ และ (4) การประเมินตนเอง เด็กมีการวางแผนด้วยการร่างแบบพร้อมอธิบายรายละเอียดต่างๆของความคิด การกระทำ และอารมณ์ และมีการประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ พบว่า เด็กมีพฤติกรรมที่สะท้อนการสร้างสรรค์สูงขึ้น ได้แก่ การวางแผน ร่างแบบ ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ศิลปะ ประเมินความสามารถตนเองก่อนตัดสินใจเลือกสร้างสรรค์ผลงาน คำนึงถึงความสะอาด แก้ไขปัญหาสมเหตุสมผล สื่อสารเข้าใจ มีจินตนาการและแนวคิดแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งมีการแสดงออกทางอารมณ์ผ่านสีหน้าของคนและสัตว์ในผลงาน หรือใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ พร้อมทั้งเลือกใช้สีสอดคล้องกับอารมณ์ของเนื้อหาในผลงาน ขีดเขี่ยอย่างหลากหลาย ควบคุมทิศทางการวาดได้ดี ค้นพบความถนัดของตน และเลือกใช้อุปกรณ์ที่ตนถนัด | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research are to develop the model of art experiences management and to study its results. The conduction of the research is divided into 3 stages: (1) stage of development on model of art experiences management; (2) stage of trial on model of art experiences management; and (3) stage of study on model of art experiences management. The sample is the eighteen preschoolers studying on K3 at a school in Office of the Private Education Commission in Bangkok Metropolitan which is selected through purposive sampling. The period of the research takes 12 weeks, divided into 4 times a week. Each time takes 45 minutes, totaling 48 times. The experimental design was a single subject design: A-B-A-B Design The results of the research can be found as follows: 1) the model of art experiences management is an active learning. The preschoolers will create autonomous learning through step-by-step working, know their own duties, and achieve the suitable expressions of ideas, actions, and emotions; comprising 4 crucial principles, namely, (1) the use of art as a medium for the development in wisdom of experience through senses and perceptions, (2) the autonomous learning management in choosing, deciding, proceeding trial and error, and doing through social interaction, (3) the arrangement of art activity as a form of play which preschoolers can learn how to plan, target, and apply self-regulation, and (4) the generation of preschoolers’ thinking process through asking questions, demonstrating, and expressing ideas which consists of 3 following processes of learning: (1) Inspire (2) Share and (3) Do. and 2) the preschoolers have a higher level of executive function which is statistically significant at a level of .05 and is made up of (1) inhibitory control - the preschoolers are able to tolerate, await, concentrate, not to interrupt or say, perform, and comply with the rules without any resistance, (2) mental flexibility - the preschoolers are able to adapt themselves with new environment, solve various problems, accept others’ opinions, and adjust or find other means to continue their activities in case of the encounter with unpleasant environment, (3) emotional control - the preschoolers are able to express and adjust their emotions better and properly, and collaborate with others peacefully, and (4) self-monitoring - the preschoolers are able to plan by sketching and clarifying the details on thought, action, emotion, and make constant self-monitoring which results in the achievement of work as per the purpose set out and the suitable use of time. In addition, they have a higher development in the creation of artwork which they plan, sketch, express ideas, try using artistic materials and equipment, assess their own abilities prior to the decision to create artwork, give more precedence to cleanliness, solve problems reasonably, communicate more understandably, have imaginations or new concepts to create artwork, emotionally display the facial expressions of human or animal in artwork, use emotional symbols, choose the colors consistent with the emotion of artwork’s content, scribble a variety of lines, have effective control over the directions of drawing, discover their own aptitudes, and be capable of selecting the tools at which they are good. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.925 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล | - |
dc.title.alternative | Model of art experiences management based on teaching for artistic behavior and design thinking concepts to enhance executive function development for kindergartener | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.925 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6184235827.pdf | 5.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.