Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83325
Title: แนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC)
Other Titles: Development guidelines of Damrongtham District Center under the standard of Government Easy Contact Center : GECC
Authors: ธนรัฐ นันทนีย์
Advisors: พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC : Government Easy Contact Center) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด ที่กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงมากที่สุด คือ ประเด็นเรื่องทรัพยากรซึ่งในที่นี้คืองบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอ ประเด็นที่ถูกกล่าวถึงรองลงมาคือ ประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคขาดความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของนโยบาย ประเด็นเรื่องระบบงานบริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอยังไม่มีเอกภาพ ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เป็นนวัตกรรมในการให้บริการ ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์บางประการเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคมีภารกิจหลายด้านทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้ ตามลำดับ และประเด็นสุดท้ายคือประเด็นเรื่องการขาดการวางแผน ตรวจ ติดตาม ประเมินผลที่ดี
Other Abstract: "Development guidelines of Damrongtham District Center under the standard of Government Easy Contact Center : GECC" is qualitative research. The study's objectives are to indicate the problem, obstacle and limitation of Damrongtham District Center during applying for Government Easy Contact Center : GECC and to suggest guidelines for Damrongtham District Center toward the next applying for Government Easy Contact Center : GECC. According to the study's findings, the most mentioned factor from interviewees is "not enough resources". followed by "regional officials don't appreciate the importance of policy", "the service system is substandard", "some criteria are limitation that can't be modified", "regional officials have too many tasks" and the least mentioned is "lack of planning monitoring and evaluation".
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83325
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.266
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.266
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6382025524.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.