Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83448
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทรัตน์ เจริญกุล-
dc.contributor.authorปริยา เกิดดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-23T05:49:05Z-
dc.date.available2023-08-23T05:49:05Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83448-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุมทรสงครามตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสงครามตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 3.851) และมากที่สุด (X = 4.718) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.229) รองลงมาคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.224) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การวัดประเมินผล (PNI[modified] = 0.222) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ มีทั้งสิ้น 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 23 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียนลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ด้านการแสวงหาความรู้และรอบรู้ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 7 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 ยกระดับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ด้านการมีกลวิธีในการเรียนรู้และมุ่งเป้าหมายประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 9 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 3 พลิกโฉมระบบการวัดประเมินผลที่เน้นสมรรถนะผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ด้านการมีกลวิธีในการเรียนรู้และมุ่งเป้าหมาย ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 7 วิธีดำเนินการen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a descriptive research. The objectives were 1) to study the current and the desirable states and to assess the priority need index of developing academic management of secondary schools in Samut Songkhram province based on the concept of expert learner and 2) to propose approaches for developing academic management of secondary schools in Samut Songkhram province based on the concept of expert learner. The informants were school directors, deputy directors and teachers, totally 201, of secondary schools in Samut Songkhram province. The research instruments were a rating-scaled questionnaire about approaches for developing academic management of secondary schools in Samut Songkhram province based on the concept of expert learner and evaluation form to testify appropriateness and feasibility of approaches. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI [Modified], mode, and content analysis. The research findings showed that: 1) overall, the current and desirable states of academic management of secondary schools in Samut Songkhram province based on the concept of expert learner were at a high level (X̅ = 3.851) and the highest level (X̅ = 4.718), respectively. The first priority need index fell on curriculum development PNI [Modified] = 0.229 followed by learning Management (PNI [Modified] = 0.224) and evaluation (PNI [Modified] = 0.222), respectively There were three approaches, six sub-approaches, and twenty-three procedures for developing academic management of secondary schools in Samut Songkhram province based on the concept of expert learner. The approaches sorted by priority needs index were (1) Develop Expert Learner Competency-based Curriculum for Resourceful and Knowledgeable. (2) Shift Learning Process Development focusing on Expert Leaner in strategic and goal-directed competencies. (3) Disrupt evaluation system focusing on Expert Learner in purposeful and motivated competencies. The first approach consisted of two sub-approaches and seven procedures. The second approach consisted of two sub-approaches and nine procedures. The last approach consisted of two sub-approaches and seven procedures.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.347-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษาอ -- ไทย -- สมุทรสงครามen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectHigh schools -- Thailand -- Samutsongkhram-
dc.titleแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้en_US
dc.title.alternativeApproaches for developing academic management of secondary schools in Samutsongkhram province based on the concept of expert learneren_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.347-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6380100327_pariya_gi.pdf121.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.