Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทรงจันทร์ ภู่ทอง-
dc.contributor.authorกิตตินันท์ โกมลภิส-
dc.contributor.authorอุมาพร พิมพิทักษ์-
dc.contributor.authorอณุมาศ บัวเขียว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-09-22T07:11:46Z-
dc.date.available2023-09-22T07:11:46Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83569-
dc.description.abstractสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีในพืชผักที่บริโภคประจำวันได้รับความสนใจมากเพราะมีความปลอดภัยในการใช้มากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์ จากรายงานต่างๆ พบว่าสารพฤกษเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารประกอบฟินอลิกบางชนิดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จากการวิเคราะห์ผักพึ้นบ้านที่นิยมบริโภค 20 ชนิดพบว่า ชะอม (Acacia pennata) มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกสูงมากที่สุดถึง 45.3 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อมิลลิกรัมของสารสกัดแห้ง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงทำการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบชะอมที่เป็นใบสด (F) และใบแห้ง (D) ที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำ (H) หรือ 95% เอทานอล (E) จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay โดยคำนวณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ radical scavenging activity ที่ 50% พบว่า สารที่ได้จากสกัดด้วยน้ำจะให้ฤทธิ์ที่สูงกว่าสารที่ได้จากการสกัดด้วย 95% เอทานอล และสารสกัดจากใบสดจะให้ฤทธิ์ที่สูงกว่าสารที่สกัดจากใบแห้ง แต่เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยดูความสามารถในการให้อิเล็คตรอนด้วยวิธี FRAP assay พบว่า สารสกัดหยาบทั้ง 4 ชนิดให้ฤทธิ์ที่ต่างกันเล็กน้อย โดยมีค่าอยู่ในช่วง 2.91 -5.09 มิลลิโมลาร์ นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญฃองเซลล์ชนิดต่างๆ จำนวน 14 ชนิดโดยวิธี MTT colorimetric assay พบว่า FH และ DH มีความเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำโดยมีค่า 50% inhibition concentration (IC₅₀) มากกว่า 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในทางตรงข้าม FE จะมีความเป็นพิษสูงต่อเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ (IC₅₀ = 13.4 – 113.2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) แต่ที่น่าสนใจคือ DE จะมีความเป็นพิษสูงต่อเซลล์มะเร็งเท่านั้น (IC₅₀ = 24.8 – 483.3 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) แต่จะเป็นพิษต่ำต่อเซลล์ปกติของเซลล์เยื่อบุผิว MCF-10A เซลล์ปอด WI-38 และเซลล์ผิวหนัง CCD-986SK เนื่องจาก DE มีความเป็นพิษต่ำต่อเซลล์ปกติจึงได้ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ DE ที่ความเข้มข้น 2000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ภายในเซลล์มะเร็งของเซลล์ลำไส้ CaCo-2 และ HT-29 พบว่า มีค่าเท่ากับ 76.8% และ 34.5% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า DE ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเท่ากับ 28% จากผลการทดสอบการออกฤทธิ์ต่างๆ ของสารสกัดหยาบจากใบชะอมในงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในงานวิจัยต่อยอดทางด้านพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeNatural anti-oxidants from vegetables which are normally used in daily cooking are of great interest because they are safer to be used than synthetic anti-oxidant compounds. It has been reported that phytochemicals especially some phenolic compounds can act as the anti-oxidant. Among the twenty Thai indigenous vegetables studied, Cha-Om (Acacia pennata) contains highest level of the phenolic contents at 45.3 μg gallic acid/mg (dry wt.). Therefore, this research was focused on the anti-oxidant activity of crudes extracted from both fresh (F) and dried (D) leaves of A. pennata. Leaves which were extracted by either water (H)or 95% ethanol (E). Anti-oxidant activity, based on DPPH assay, of the extracts was quantified in term of 50% radical scavenging activity. It was found that the FH and DH extracts showed higher activity at 3.91mg/ml and 4.13 mg/ml than the FE and DE did at 7.80 mg/ml and 19.24 mg/ml, respectively. The anti-oxidantactivity in term of reducing ability was also analyzed by FRAP assay. All extracts, FH, FE, DH and DE yieldedslightly different abilities at 5.09, 4.10, 5.01 and 2.91 mM, respectively. In addition, cytotoxicity based on MTTcolorimetric assay of the extracts was performed on fourteen cell lines. The results showed that both FH andDH extracts had low toxicity to all fourteen cell lines with the 50% inhibition concentration (IC₅₀) values morethan 500 μg/ml. In contrast, the FE extract was toxic to both cancer and normal cell lines (IC₅₀ = 13.4 – 113.2μg/ml). Interestingly, the DE extract was highly toxic to only cancer cell lines (IC₅₀ 24.8 – 483.3 μg/ml) but lesstoxic to normal cell line of epithelial cell (MCF-10A), lung cell (WI-38) and skin cell (CCD-986SK). Because of itslow toxicity to normal cell lines, study of antioxidant activity of the DE extract (2000 μg/ml) was tested onhuman colon cancer cell line CaCo-2 and HT-29 cells and was found to be 76.8% and 34.5%, respectively. Inaddition, anti-inflammatory effect of the DE extract at the concentration of 100 μg/ml was found to be 28%.Information obtained from these studies should be able to be used as preliminary data for further researchon Thai medicinal plants with antioxidant activity and anti-cancer activity.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2561 สัญญาเลขที่ GB-A_CU_61_08_61_02en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแอนติออกซิแดนท์en_US
dc.subjectเซลล์มะเร็งen_US
dc.subjectชะอมen_US
dc.subjectAntioxidantsen_US
dc.subjectCancer cellsen_US
dc.subjectAcacia pennataen_US
dc.titleฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเจริญฃองเซลล์มะเร็งจากสารสกัดใบชะอมen_US
dc.title.alternativeAntioxidant activity and antiproliferative against cancer cell line from Acacia pennata leaves extracten_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Biotec - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anumart_Bu_Res_2561.pdf52.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.