Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83579
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สิริน ฉกามานนท์ | - |
dc.contributor.author | หทัยรัตน์ ทับพร | - |
dc.contributor.author | อัควิทย์ เรืองรอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-09-25T02:20:06Z | - |
dc.date.available | 2023-09-25T02:20:06Z | - |
dc.date.issued | 2565-01 | - |
dc.identifier.citation | วารสารกระแสวัฒนธรรม 23,43 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) หน้า 34-45 | en_US |
dc.identifier.issn | 1513-4458 (Online) | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83579 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ 2) วิเคราะห์การสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม และ 3) นำเสนอแนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม มีขอบเขตการวิจัยคือ ศึกษาน้ำพริกที่ใช้เป็นเครื่องจิ้ม ได้แก่ น้ำพริกกะปิและน้ำพริกปลาร้าในกรุงเทพและปริมณฑล ประเทศไทย แจ่วบองในหลวงพระบาง ประเทศลาว และตึกเกรืองในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นกรณีศึกษา มีวิธีดำเนินการวิจัย คือ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมอาหารโดยเฉพาะน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ และการวิจัยภาคสนามในพื้นที่กรณีศึกษา ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มได้แก่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เกี่ยวกับน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ ในไทยจำนวน 15 คน ลาวจำนวน 15 คน กัมพูชาจำนวน 30 คน รวม 60 คน และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาเสนอแนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์แบ่งเป็น 5ประเด็นได้แก่ (1) ด้านประวัติศาสตร์สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นรากเหง้าที่ผสานเราชาวอุษาคเนย์ไว้ด้วยกัน (2) ด้านสุนทรียศาสตร์สะท้อนอัตลักษณ์ความงามที่เรียบง่ายแต่ลุ่มลึก (3) ด้านจริยศาสตร์สะท้อนอัตลักษณ์ความรักความอบอุ่นในแบบฉบับของชาวอุษาคเนย์ (4) ด้านภูมิปัญญาสะท้อนอัตลักษณ์การดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และ (5) ด้านวิถีชีวิตสะท้อนอัตลักษณ์วิถีแห่งอุษาคเนย์ 2) การสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ในอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า เป็นการสืบสานผ่านรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ ได้แก่ วิทยาลัยวิชาชีพและมหาวิทยาลัย การศึกษานอกระบบ ได้แก่ ร้านอาหารและโรงเรียนสอนทำอาหาร และการศึกษาตามอัธยาศัยได้แก่ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยตรงในครัวเรือน ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวและชุมชน 3) แนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของน้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ควรส่งเสริมการสืบสานผ่านรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตโดยมีสถาบันครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้จากรุ่นสู่รุ่น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research are 1) to analyze the values and collective identity associated with the Southeast Asia’s chili pastes; 2) to analyze the cultural inheritance; and 3) to present guidelines for the transmission of Southeast Asia’s cultural inheritance. The scope of this research focuses on chili pastes uses as dips: Namprik in Bangkok, Thailand; Jeawbong in Luangprabang, Laos; and Tik Kreoung in Phnom Penh, Cambodia, as case studies. The research methods include documentary research, interviews with chili paste and food culture experts, and field research in the corresponding areas. The interviews were in-depth and semi-structured. The key informants were divided into three groups: academics, community leaders, and community members who continued producing the chili paste. There were a total of 60 interview participants, which were comprised of 15 participants in Thailand, 15 participants in Laos, and 30 participants in Cambodia. The analyzed data was used for drafting, reviewing and presenting the guidelines for the transmission of cultural values and collective identity of Southeast Asia’s chili pastes. The research resulted are as follows: 1) the values and collective identity associated with Southeast Asia’s chili paste were found and divided into five areas: (1) history reflecting the identity of Southeast Asian roots; (2) aesthetics reflects a minimalist identity; (3) ethics reflecting on identity of love and care; (4) wisdom reflecting harmonization with nature; and (5) a way of life reflecting Southeast Asian living practices. 2) The cultural inheritance of values and collective identity associated with Southeast Asia’s chili pastes is transmitted through lifelong learning, which is a combination of formal education (vocational schools and universities), non-formal education (restaurants and cooking schools), and informal education (learning through direct experiences in households and communities. 3) The guidelines for transmission of cultural inheritance should focus on the family unit as a fundamental platform for integrating intangible cultural heritage into lifelong learning. A person who takes care of a child is the key to success of passing on this taste of wisdom through everyday practices. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | วารสารกระแสวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสยาม | en_US |
dc.relation.uri | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/241993 | - |
dc.rights | ภาควิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | en_US |
dc.title | แนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม: น้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for the Transmission of Cultural Values and Collective Identity : Chili Pastes of Southeast Asia | en_US |
dc.type | Article | en_US |
Appears in Collections: | Thai Journal Article |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
html_submission_86530.html | บทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.73 kB | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.