Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ พนัสพัฒนา-
dc.contributor.authorเมธาวี สาระไทย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-07-18T01:21:58Z-
dc.date.available2006-07-18T01:21:58Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741747209-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/835-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิจัยถึงค่าเสียหายประเภทต่างๆ อันอาจเกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุและศึกษาถึงแนวทางของศาลทั้งศาลไทยและศาลต่างประเทศในเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดค่าเสียหายประเภทต่างๆ อันอาจเกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางและวิธีการในการกำหนดค่าเสียหายประเภทต่างๆ เพื่อใช้เป็นมาตรฐาน สร้างความเป็นธรรมและเหมาะสมทั้งกับเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ละเมิด โดยข้อมูลที่ศึกษานั้นได้มาจากบทบัญญัติของกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และคำพิพากษาของศาลไทยและศาลต่างประเทศ ในคดีที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะได้วางหลักเกณฑ์การแก้ไขเยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์มากขึ้น แต่ยังมีข้อให้ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนด การใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดค่าเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ หากว่าศาลไม่เข้าใจถึงระบบกลไกตลาด หรือหลักเศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริงแล้ว การกำหนดค่าเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นอาจไม่เหมาะสมและเป็นธรรมได้ ซึ่งประเด็นเดียวกันนี้ ในกฎหมายต่างประเทศมีบทบัญญัติที่ชัดเจนและสมบูรณ์กว่ากฎหมายไทย ดังนั้นประเทศไทยจึงควรศึกษาบทบัญญัติและคำพิพากษาเกี่ยวกับค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของไทยต่อไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยควรให้มีการกำหนดข้อสันนิษฐานของประเภทของค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการพิจารณากำหนดจำนวนค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งได้เสนอให้มีการนำแนวคิดเกี่ยวกับค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ในคดีด้วย นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอให้มีการออกแนวทางการพิจารณากำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์เฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมงานสิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุ โดยให้พิจารณาผลของการทำละเมิดลิขสิทธิ์ว่ามีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่และอย่างไรen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study various types of damages and their assessment in respect of copyright infringement of musical work, sound recording and audiovisual recording for standardising appropriate and fair damages in respect of the same to all parties involved. The studied information was taken from relevant provisions of laws, textbooks, articles, the internet and relevant Courts decisions. The study shows that although the Copyright Act of B.E. 2537 (1994) contains a provision regarding conditions for assessing such damages, the conditions are unclear which creates uncertainty and problems over their interpretaion and application. Any damages awarded may not be fair and suitable for the copyright owners if, the Court does not clearly understand in the related business and economy when it quantifies the damages. Foreign copyright laws contain clearer provisions relating to damage assessment than Thai law. This thesis proposes that Section 64 of the Copyright Act B.E. 2537 (1994) should be amended by clearly outlining legal presumptions and the burden of proof in relation to certain types of damages. This will include refutable legal presumptions. The presumptions should accommodate the uncertainly of damae assessment in Thailand. It also proposed puntive damages. In addition, this thesis proposes conditions to assess damage for specific works, in particular, musical work, sound recording and audiovisual recordings. One of the main conditions considers whether copyright infringement of the said specific works would be assessed as competing with the core business of the copyright owner.en
dc.format.extent2742439 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectค่าเสียหาย -- ไทยen
dc.subjectลิขสิทธิ์ -- ไทยen
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด -- ไทยen
dc.titleค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุ : ศึกษาเฉพาะกรณีเทปบันทึกเสียง วีดีทัศน์ และวีซีดีen
dc.title.alternativeDamage for copyright infringement in musical work, sound recording and audiovisual work : a case of cassette tape, compact disc (CD), video tape and video compact disc (VCD)en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maythawee.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.