Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83663
Title: การคัดเลือกจุลชีพเพื่อใช้ในการควบคุมทางชีวภาพต่อแมลงศัตรูพืช : รายงานผลการดำเนินงาน
Other Titles: Screening for microbes as biocontrol agents for agricultural insect pests
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Authors: เกรียง กาญจนวตี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เพลี้ยไฟ
แมลงศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืช -- การควบคุม
แมลงศัตรูพืช -- การควบคุมทางชีววิทยา
Aphis
Insect pests
Insect pests -- Control
Insect pests -- Biological control
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิดในหลายประเทศทั่วโลก ใช้การควบคุมทางชีวภาพ (biological control) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมประชากรเพลี้ยไฟโดยไม่พึ่งพาการใช้สารเคมีซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม โครงการวิจัยนี้ได้ทำการตรวจสอบทางสัณฐานวิทยาพบว่าเพลี้ยไฟที่พบในสวนกล้วยไม้อยู่ใน สกุล Dichromothrips และเมื่อทำการแยกเชื้อราที่อาจก่อโรคในเพลี้ยไฟได้จากเพลี้ยไฟที่ตายหลังฉีดพ่นด้วยน้ำที่สกัดจากดินแหล่งต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ อพ.สธ. พบว่าสามารถแยกเชื้อราจากเพลี้ยไฟที่จายได้ทั้งหมด 29 isolate ซึ่งจัดอยู่ใน 7 กลุ่ม ได้แก่ สกุล Penicillium, สกุล Cladosporium, สกุล Aspergillus, สกุล Fusarium, สกุล Microsphaeropsis, สกุล Purpureocillium และ สกุล Cochliobolus จากการทบทวนงานวิจัยก่อนหน้าพบว่า กลุ่มเชื้อราที่มีแนวโน้มในการก่อโรคในเพลี้ยไฟ ได้แก่ สกุล Penicillium, สกุล Cladosporium, สกุล Aspergillus และ สกุล Purpureocillium สำหรับงานวิจัยในขั้นถัดไปจะนำเชื้อราแต่ละกลุ่มไปทดสอบกับเพลี้ยไฟเพื่อหาประสิทธิภาพในการก่อโรค
Other Abstract: Thrips are an insect pest that cause global-scale losses in many economically important plants. Among pest-control approaches, the biological control is an alternative solution to chemical pesticides which may have negative effects on health and environment. In this study, the morphology of thrips collected from an orchid farm showed the common characters of the Dichromothrips genus. The 29 isolates of the potential insect pathogenic fungi were isolated from thrips cultured with the spore suspension extracted from soil collected from the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn areas. These fungal isolates were categorized into seven genera: Penicillium, Cladosporium, Aspergillus, Fusarium, Microsphaeropsis, Purpureocillium and Cochliobolus. The Penicillium, Cladosporium, Aspergillus and Purpureocillium genera could be potentially used as biological control agents according to the previously published articles. The pathogenicity assay of each fungal isolate will be conducted to find the efficiency of fungal isolates against thrips.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83663
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krieng_Ka_Res_25662.pdf19.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.