Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83731
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีรพล คังคะเกตุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม-
dc.date.accessioned2023-11-15T07:16:16Z-
dc.date.available2023-11-15T07:16:16Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83731-
dc.description.abstractแม่น้ำปิง-วัง-ยม-น่าน และแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญของประเทศ แนวโน้มของการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้น้ำได้ส่งผลให้มีน้ำเสียเกิดขึ้นมากตามกันไป ประกอบกับแนวโน้มการลดลงของปริมาณน้ำแม่น้ำ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของปัญหามลภาวะแหล่งน้ำ มีชุมชนหนาแน่น 21 แห่ง ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเหล่านี้ รวมทั้งได้อาศัยแม่น้ำต่าง ๆ นี้เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับการผลิตประปา ซึ่งในขณะเดียวกันก็ระบายน้ำทิ้งชุมชนกลับลงสู่แม่น้ำเหล่านี้ ปัจจุบันชุมชนหนาแน่นที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเหล่านี้มีโรงบำบัดน้ำเสียเพียง 48 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนชุมชนหนาแน่นทั้งหมด การบำบัดน้ำเสียมุ่งเน้นในการลดปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเสียเท่านั้น โดยไม่มีการกำจัดสารอาหารออกจากน้ำทิ้งที่บำบัดแล้ว ดังนั้นโอกาสของการเกิดปัญหาสภาพการเพิ่มผลผลิตปฐมภูมิอย่างเร็ว (การแพร่กระจายของสาหร่าย และวัชพืชน้ำ) จึงยังคงมีอยู่ ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าไนโตรเจนเป็นสารอาหารที่เป็นปัจจัยจำกัดของแม่น้ำทุกสาย แต่การควบคุมและป้องกันปัญหามลพิษจากสารอาหารในแม่น้ำอาจทำได้โดยการควบคุมปริมาณฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตามการควบคุมปริมาณไนโตรเจนก็จำเป็นขึ้นอยู่กับสภาพการณ์คุณภาพน้ำในแต่ละบริเวณ ระบบบำบัดแบบธรรมชาติถูกเสนอให้ใช้เนื่องจากมีข้อดีหลายประการและรวมถึงสามารถกำจัดสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การควบคุมสารอาหารในแหล่งน้ำยังต้องคำนึงถึงที่มาของสารอาหารจากแหล่งกำเนิดไม่ถาวรด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeMae Nam (mean river) Ping-Wang-Yom_Nan and Chao-Phraya, all are the major rivers of the northem and Central part of Thailand. There are twenty-one communities, or the municipalities, including Bangkok metropolitan, located along these rivers. These communities use the rivers as a major source of raw water supply, and in turn, discharging wastewater back into the rivers. At present, there are only ten communities that have wastewater treatment plants (most of these are in construction phase). Most of these plants were designed at secondary level, therefore, biodegradable organic matter, not nutrients, will be removed effectively. In this study, it was found that N is the limiting nutrient of all rivers. But P removal was suggested because of ease of operation and the operation cost is low comparable to that of N. However, control of N in wastewater is necessary depending on the situation or condition of water quality of the rivers. Natural treatment systems were suggested in removing nutrients (an also other pollutants) from municipal wastewater because these systems have many advantages over the activated sludge (AS) process. In controlling nutrients entering the rivers effectively, nonpoint or diffuse sources of nutrients must be concerned or into consideration. Several methods in minimizing or taken eliminating nutrients from nonpoint sources had been recommended.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับเงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมลพิษทางน้ำen_US
dc.subjectคุณภาพน้ำen_US
dc.subjectสารอาหารen_US
dc.subjectแหล่งน้ำ -- ไทยen_US
dc.subjectแม่น้ำเจ้าพระยาen_US
dc.subjectแม่น้ำปิงen_US
dc.subjectแม่น้ำวังen_US
dc.subjectแม่น้ำยมen_US
dc.subjectแม่น้ำน่านen_US
dc.titleการศึกษาสารอาหารที่ก่อปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำของประเทศไทย : กรณีศึกษาแม่น้ำปิง-วัง-ยม-น่าน-เจ้าพระยาen_US
dc.title.alternativeStudy of nutrients causing pollution problems in water resources of Thailand : a case study of Ping-Wang-Yom-Nan and Chao Phya riversen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
theerapol_ku_res_2541.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.