Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83864
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กมล แก้วกิติณรงค์ | - |
dc.contributor.author | วีรวัฒน์ มโนสุทธิ | - |
dc.contributor.author | โอภาส พุทธเจริญ | - |
dc.contributor.author | บราลี ปัญญาวุธโธ | - |
dc.contributor.author | อัญชลี อวิหิงสานนท์ | - |
dc.contributor.author | วรพจน์ ทรัพย์ศิริสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | ศิวะพร เกตุจุมพล | - |
dc.contributor.author | ศศิวิมล อุบลแย้ม | - |
dc.contributor.author | นฤจพร ธรรมจารึก | - |
dc.contributor.author | จิรัชยา โสพลพันธ์ | - |
dc.contributor.author | พรชัย ปิงสุแสน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-08T09:43:13Z | - |
dc.date.available | 2023-12-08T09:43:13Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83864 | - |
dc.description.abstract | บทนำ: ยาไรแฟมปิซินสามารถกระตุ้นเอนไซม์ไซโตโครม P450 ได้ซึ่งทำให้ระดับยาโลพินาเวียร์ลดลงอย่างมากเมื่อให้ยาคู่กันจึงมีคำแนะนำให้ใช้ยาไรฟาบูตินแทนไรแฟมปิซินเมื่อต้องใช้คู่กับยาโลพินาเวียร์ อย่างไรก็ตามขนาดยาไรฟาบูตินที่แนะนำอาจไม่เพียงพอ จุดประสงค์หลักของการศึกษานี้คือเพื่อเปรียบเทียบค่าเภสัชจลนศาสตร์ของยาไรฟาบูตินขนาด 150 มก. วันละครั้งกับ 300 มก. สามครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อให้คู่กับยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ขนาด 400/100 มก. วันละสองครั้ง ในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ร่วมกับวัณโรค วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มซึ่งไม่ปกปิดทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมการศึกษาโดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม เป็นการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ และประสิทธิภาพของยาที่ 48 สัปดาห์หลังการรักษา ในผู้ป่วยชาวไทยที่ติดเชื้อ HIV ร่วมกับวัณโรค การศึกษานี้จะวัดค่าเภสัชจลนศาตร์ของยาไรฟาบูตินก่อนและหลังให้ยาไรฟาบูตินร่วมกับยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ระหว่าง 2 ถึง 8 สัปดาห์ โดยวิธี high performance liquid chromatography (HPLC) และ LC-MS/MS (Liquid Chromatograph-Mass spectrometer) ผลการศึกษา: ผู้ร่วมการศึกษาทั้งหมด 34 คน แต่ที่ได้การรักษาครบ 48 สัปดาห์และมีผลการตรวจระดับยาแล้ว 21 คน ดังนั้นรายงานนี้ได้รวบรวมข้อมูลคนไข้จำนวน 21 คน โดย 10 คน ได้รับยาไรฟาบูตินขนาด 150 มก. วันละครั้งและ 11 คนได้รับยาไรฟาบูตินขนาด 300 มก. สามครั้งต่อสัปดาห์ ค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ (AUC) ของยาไรฟาบูติน ขนาด 150 มก. วันละครั้งร่วมกับยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์สูงกว่าเมื่อให้ยาไรฟาบูตินตัวเดียวร้อยละ 41.9 แต่ผู้ป่วยที่ได้ยาไรฟาบูตินขนาด 300 มก. สามครั้งต่อสัปดาห์ร่วมกับยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์นั้นมี AUC สูงกว่าเมื่อให้ยาไรฟาบูตินตัวเดียวร้อยละ 145.2 หลังจากให้ยาไรฟาบูตินร่วมกับยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์นาน 2-8 สัปดาห์พบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต (สัมประสิทธิ์ความผันแปร) ของค่าความเข้มข้นสูงสุด (Cmax) ของยาไรฟาบูตินทั้งสองขนาดมีค่าใกล้เคียงกัน [0.65 (36%) เทียบกับ 0.82 (30%) มก./ล.] ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (สัมประสิทธิ์ความผันแปร) ของค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ (AUC) ของยาไรฟาบูตินขนาด 300 มก. สามครั้งต่อสัปดาห์สูงกว่าขนาด 150 มก. วันละครั้งถึงร้อยละ 72.7 [15.5 (43%) เทียบกับ 8.97 (37%) มก.ชม./ล.] ค่าทางเภสัชจลนศาตร์ของยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์นั้นอยู่ในระดับรักษา (therapeutic level) โดยระดับยาก่อนให้ยาครั้งถัดไป [trough concentration (C0)], ระดับยาสูงสุด [peak concentrations (Cmax)], ระดับยาต่ำสุด [minimum concentrations (Cmin)] และระดับยาเฉลี่ย [average concentrations (Cave)] ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มนั้นใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ยของ C0 ของยาโลพินาเวียร์ในผู้ป่วยที่ได้ยาไรฟาบูติน 150 มก. วันละครั้งและ 300 มก.สามครั้งต่อสัปดาห์เป็น 8.709 เทียบกับ 10.473 มคก./มล., ค่าเฉลี่ย Cmax เป็น 13.455 เทียบกับ 14.027มคก./มล., ค่าเฉลี่ย Cmin เป็น 5.287 เทียบกับ 4.155 มคก./มล.และค่าเฉลี่ย Cave เป็น 9.695 เทียบกับ10.252 มคก./มล. พบการอักเสบของยูเวีย (Uveitis) ในผู้ป่วย 2 รายโดยทั้งคู่ได้รับไรฟาบูติน 300 มก. สามครั้งต่อสัปดาห์ สรุปผล: การศึกษานี่เสนอว่ายาไรฟาบูตินขนาด 150 มก. วันละครั้งควรเป็นขนาดที่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยชาวไทยเมื่อต้องใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ นอกจากนี้ยังพบว่ายาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ขนาด400/100 มก. วันละสองครั้งสามารถให้ระดับยาในเลือดที่เพียงพอเมื่อให้ร่วมกับยาไรฟาบูตินทั้งสองขนาด | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Rifampicin and protease inhibitors are difficult to use concomitantly in HIV infected patients with active tuberculosis due to drug-drug interaction. Rifabutin (RBT) has been proposed as an alternative rifamycin, but there is concern that the current recommended dose (rifabutin 300 mg 3 times per week) is suboptimal. The principal aim of this study was to compare bioavailability of two doses of rifabutin (300 mg three times per week and 150 mg daily) in patients with HIV-associated tuberculosis who initiated lopinavir/ritonavir-400/100 mg based antiretroviral therapy in Thailand. Method: This was a randomized, open-label, multi-dose, two-arm trial, conducted in 2 sites in Thailand (Bamrasnaradura Institute and HIV-NAT). Rifabutin pharmacokinetics were evaluated before and after the introduction of lopinavir/ritonavir -based antiretroviral therapy using patient randomization lists. Serial rifabutin and 25-O-desacetyl rifabutin concentrations were measured during a dose interval after 2-4 weeks of rifabutin 150 mg daily, or rifabutin 300 mg three time weekly with lopinavir/ritonavir.Concentrations of lopinavir/ritonavir post rifabutin treatment were also measured. CD4, VL and ALT were collected every 12 weeks. Rifabutin and 25-Odesacetyl rifabutin were performed by LC-MS/MS (Liquid Chromatograph-Mass spectrometer). Lopinavir and ritonavir concentrations were performed by high performance liquid chromatography (HPLC). Results: Of 34 enrolled, 21 patients were included in this report because they have completed 48 weeks and had pharmacokinetic data available. Ten and eleven patients were respectively randomized to the two arms (RBT 150 mg daily and RBT 300 mg three time a week). RBT150 mg daily with lopinavir/ritonavir was associated with a 41.9% mean increase in rifabutin average steady state concentration compared with RBT 150 mg alone. In contrast, the rifabutin average steady state concentration increased by 145.2% when RBT was given at 300 mg three times per week with lopinavir/ritonavir. The area under curve of rifabutin concentration of RBT 300 mg three times a week was 72.7% higher than RBT 150 mg daily (15.5 vs 8.97 mg/L/hr. The different doses of rifabutin had no significant effect on lopinavir/ritonavir plasma concentrations. Uveitis was found in 2 cases of RBT 300 mg three times a week. At week 48, 90% of RBT 150 mg daily and 72.7% of RBT 300 mg three times a week had HIV RNA< 50 copies/ml. CONCLUSIONS: Based on these findings, rifabutin 150 mg daily may be preferred when co-administered with lopinavir/ritonavir in patients with HIV-associated tuberculosis. Lopinavir/r 400/100 mg 2 times a day is adequate when it is used concomitantly with RBT. | en_US |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2558-2560 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เภสัชจลนศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ยาโลพินาเวียร์ | en_US |
dc.subject | ยาริโทนาเวียร์ | en_US |
dc.title | การศึกษาทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ ประสิทธิผล ความปลอดภัย และความทนทานต่อยาโลพินาเวียร์/ยาริโทนาเวียร์ขนาดมาตรฐานร่วมกับยาไรฟาบูตินขนาด 150 มิลลิกรัมต่อวัน (ขนาดมาตรฐาน) หรือขนาด 300 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ขนาดต่ำ)ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นวัณโรค | en_US |
dc.title.alternative | A study of the pharmacokineics and safety of rifabutin 150 mg once daily versus rifabutin 300 mg thrice weekly with Lopinavir based HAART in HIV/TB co-infected patients | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamon_Ka_Res_2561.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 69.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.