Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุพิชชา จันทรโยธา-
dc.contributor.authorนเรศร์ จันทน์ขาว-
dc.contributor.authorชุติมา กรานรอด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-12-11T05:31:18Z-
dc.date.available2023-12-11T05:31:18Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83875-
dc.description.abstractรายงานฉบับนี้เป็นรายงานประจำปีของโครงการ “การหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ และกากจากอุตสาหกรรมแร่เชื้อเพลิง แร่หินอุตสาหกรรม แร่หนัก และกากจากการบำบัดน้ำประปา” สำหรับปีงบประมาณ 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ (NORM) ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ และกากที่ได้จากกระบวนการในอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในแง่ของความปลอดภัย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการออกข้อกำหนดด้านความปลอดภัยจากรังสี การศึกษาในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมามีผลการศึกษาดังนี้ 1.การหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติในเครื่องมือ และกากจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่เป้าหมายที่แหล่งผลิตน้ำมันบนบก การวัดรังสีและการเก็บตัวอย่างทั้งหมดจากพื้นที่เดียวกัน ได้ทำซ้ำ 3 ครั้ง เพื่อดูความแปรปรวนเนื่องจากฤดูกาลและกิจกรรม การตรวจวัดอัตราปริมาณรังสีแกรมมาจากผิวดินแบบเดินสำรวจและการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสีแกมมาโดยตรงจากอุปกรณ์/เครื่องจักร พบว่าในทุกพื้นที่การผลิตที่ทำการตรวจวัดมีค่าต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่วัดได้นอกพื้นที่การผลิตของแต่ละพื้นที่ และค่าที่วัดได้ในแต่ละพื้นที่การผลิตยังคงต่ำกว่าค่าอัตราปริมาณรังสีที่ทางคณะสำรวจกำหนดไว้ให้เป็น Action Level คือ 50 UR/Hr นอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจวิเคราะห์นิวไคลด์ที่ปลดปล่อยรังสีแกมมาในบางจุดที่เหมาะสม โดยใช้หัววัดรังสีแกมมาแบบเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูงที่มีความสามารถในการแยกพลังงานดีเยี่ยม ซึ่งก็พบว่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาของนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตรวจวัดได้มีค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาต่ำกว่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาที่วัดได้นอกพื้นที่การผลิตมาก จึงอาจกล่าวได้ว่าบริเวณผิวดิน และอุปกรณ์/เครื่องจักร ของแต่ละพื้นที่การผลิตนั้นมิได้อยู่ในเกณฑ์ที่มีการสะสมของ NORM สำหรับปริมาณความเข้มข้นกัมมันตภาพของ NORM ในตัวอย่างดิน, น้ำ และกากจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในเกือบทุกตัวอย่างมีปริมาณความเข้มข้นกัมมันตภาพของ NORM อยู่ในช่วงเดียวกับปริมาณความเข้มข้นกัมมันตภาพตามธรรมชาติที่พบอยู่ในดินทั่วไป ยกเว้น produced water ซึ่งเป็นน้ำจากระบวนการผลิตนั้นมีปริมาณเรเดียม-226 สูงกว่าเกณฑ์ 5 pCi/L แต่ produced water ดังกล่าวไม่ได้ถูกปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะ แต่อัดกลับลงไปในหลุมน้ำมันเก่าที่เลิกใช้แล้ว จึงไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม 2.การหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติในกากจากการผลิตน้ำประปา สำหรับการหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ ในกากจากการผลิตน้ำประปานี้ ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น โดยจะมีการเก็บตัวอย่างหลายตัวอย่างจากสำนักงานประปาในภูมิภาคแล้วทำการวิเคราะห์ ซึ่งผลการวิเคราะห์จะรวบรวมไว้ในรายงานครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามได้ทำการเก็บและเตรียมตัวอย่างกากตะกอนบางตัวอย่างไว้แล้ว โดยจะได้ทำการวิเคราะห์เมื่อเกิดการสมดุลทางกัมมันตรังสี 3.การหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติจากอุตสาหกรรมแร่หนัก การหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติจากอุตสาหกรรมแร่หนักในปีงบประมาณ 2547 มีภาคเอกชนสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ 2 บริษัท คือ บริษัทผลิตแร่เซอร์คอน และบริษัทผลิตแร่แทนทาลัม ซึ่งผลจากการวิเคราะห์เรเดียม-226 และเรเดียม-228 ด้วยเทคนิคแกมมา ด้วยเทคนิคแกมมาสเปกโตรมิตรี พบว่า ตัวอย่างวัตถุดิบของอุตสาหกรรมผลิตแร่เซอร์คอนมีปริมาณเรเดียม-228 (227.71±7.16 pCi/g) สูงกว่า เรเดียม-226 (67.08±2.56 pCi/g) มาก และผลการวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์พบว่าเรเดียม-228 ในแหล่งแร่วัตถุดิบถูกสกัดไปอยู่ใน monazite และ Leucoxene มากกว่าเรเดียม-226 ซึ่งถูกสกัดไปสะสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ Rutile, Zircon และ Tailing สำหรับผลการวิเคราะห์ตัวอย่างตะกรันของบริษัทผลิตแร่แทนทาลัม พบว่า ในตัวอย่างตคะกรันนั้นมีปริมาณความเข้มข้นของเรเดียม-228 และเรเดียม-226 อยู่ในช่วง 2380.32-9093.85 pCi/g และ 5262.49-188897.29 pCi/g ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThis report is the annual report of the project on “Determination of Naturally Occurring Radioactive Materials (NORM) in Products, By-Products and Wastes from Petroleum, Mineral and Heavy Mineral Industry and Waste from Waterworks Authority” The objective for the year 2004 is to systematically and objectively study NORM in products, by-products and wastes form industrial processes for the benefits of industrial sector in safety and product quality aspects. In addition, the baseline data will be useful to the competence authority in issuing a code of practice for radiation safety control. The studies during the past year are as follows: 1.Determination of NORM in equipment and waste from petroleum industry targeting at the inland oil fields of the PTT Exploration and Production PCL. All measurements were conducted 3 times in the same areas in order to take into account seasonal and activity variations. The average gammar-ray dose rate obtained from walk-over ground surveys and directly from the equipment/machines in all production areas were found to be less than the dose rate in the surrounding areas and below the Action Level (50 uSv/hr). In addition, gamma-ray emitting radionuclides were analyzed using a high resolution poratable HPGe detector at appropriate spots in the areas. It was found that the gamma-ray dose rates from all detectable radionuclides in all production areas were much less than those obtained in the surrounding areas. It can be concluded that the ground, the equipment and the machines in all production areas are not contaminated by NORM at significant or elevated level. The laboratory analysis results of NORM in soil, water and waste samples from the petroleum production areas were found to be in the natural background levels except the produced water which contained 226Ra above the allowable leve 5 pCi/L. However, the produced water was never released to the environment but it was pumped back into the ground at an abandon oil field to avoid environmental contamination. 2.Determination of NORM in waste from Waterworks Authority Determination of NORM in waste from Waterworks Authority has not been completed. Several samples from the Provincial Waterworks Authority will be collected and analyzed. The results will be included in the next report. However, some sediment samples have already been collected and prepared. The analysis will be soon conducted when the radioactive equilibrium is attained. 3.Determination of NORM in waste from heavy mineral industry For the year 2004, there were 2 companies interested in joining the Project i.e. zircon ore and tantalum ore production companies 226Ra and 228Ra were analyzed using gamma-ray spectrometry and it was found that 228Ra (227.71±7.16 pCi/g) was much higher than 226Ra (67.08±2.56 pCi/g) for the raw materials from zircon ore production. The results were also indicated that 228Ra from the raw materials was extracted to be in Monazite and Leucoxene more than 226Ra which was accumulated in Rutile, Zircon and Tailing products. For the samples from the tantalum ore company, 228Ra and 226Ra were found to be in the range of 2380.32-9093.85 pCi/g and 5262.49 – 188897.29 pCi/g respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรังสีในธรรมชาติen_US
dc.subjectไอโซโทปกัมมันตรังสีen_US
dc.subjectกัมมันตภาพรังสี -- การวัดen_US
dc.subjectเรเดียมen_US
dc.titleการหาปริมาณธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลอยได้และกากจากอุตสาหกรรมแร่เชื้อเพลิง แร่หินอุตสาหกรรม แร่หนัก และกากจากการบำบัดน้ำประปา : โครงการต่อเนื่อง ระยะที่ 2 : รายงานประจำปีงบประมาณ 2547 โครงการวิจัยร่วมภาครัฐกับเอกชนen_US
dc.title.alternativeDetermination of natural radionuclides contained in products, by-products and waste produced by fuel mineral, industrial mineral, heavy mineral industries and tap water treatment facilitiesen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supitcha_Ch_Res_2548.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)85.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.