Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83880
Title: โครงการ การตรวจหาปริมาณและความหนาแน่นของไวรัสเดงกี ที่ตรวจพบในเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ในเลือดและในซีรั่มหรือพลาสมา ด้วยวิธี RT-PCR (reverse transcription - polymerase chain reaction) และ real-time PCR
Authors: วันล่า กุลวิชิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: เดงกีไวรัส
Dengue viruses
Issue Date: 2548
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคติดเชื้อไวรัสเองกี เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศไทย การวินิจฉัยการติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ความจำเป็นต้องเจาะเลือก ผู้ป่วยเด็กมักไม่ใครให้ความร่วมมือดีนัก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สิ่งส่งตรวจในช่องปาก และ/หรือปัสสาวะของผู้ป่วย มาทำการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาเบื้องต้น ในผู้ป่วยหลายสิบราย พบว่า สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสในน้ำลายได้ โดยวิธี reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) ประมาณ 30-50% ของผู้ป่วย และตรวจได้ในปัสสาวะประมาณ 80% แม้จะเป็นสิ่งส่งตรวจในระยะท้าย ๆ ของไข้ ซึ่งนับเป็นอัตราการตรวจพบที่ใกล้เคียงกับหรือดีกว่าการใช้ซีรั่มในการศึกษาอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ สำหรับการตรวจหาแอนติบอดีนั้น สามารถตรวจพบได้ในผู้ป่วยเกือบทุกราย ทั้งในน้ำลายและในปัสสาวะ เนื่องจากใช้สิ่งส่งตรวจในระยะท้ายของไข้ และ/หรือในระยะหลังไข้แล้ว จากผลการศึกษาวิจัยชิ้นนี้ สรุปได้ว่า สิ่งส่งตรวจจากในช่องปากและปัสสาวะ มีศักยภาพในการนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกีได้สูง สมควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางคลินิกและในทางระบาดวิทยาต่อไป
Other Abstract: Dengue viral infection is one of the most important public health problems in Thailand. Laboratory diagnosis is limited by a need to draw blood and pediatric patients are not happy to cooperate. Our group studied a feasibility of using oral specimens and/or urine for dengue diagnostics. A pilot study in a handful of patients showed that the virus could be detected in 30-50% of oral specimens and 80% of urine. This is true even for late febrile specimens. Sensitivity was comparable or even slightly better than that of serum specimens in previous studies. As for antibody detection by ELISA, almost all patients gave positive results in both saliva and urine specimens. This is related to the fact that late febrile and postfebrile specimens were employed. In conclusion, oral specimens and urine have a potential to be used for dengue diagnosis and deserve further research and development for clinical and epidemiologic applications.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83880
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanla_Fu_Res_2005.pdfรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์53.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.