Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84044
Title: อนุภาคของละอองฝอยที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการศัลยกรรมช่องปาก
Other Titles: Generated aerosol particles during oral surgery procedures
Authors: ดิษธร สังแก้ว
Advisors: ภัคสินี กมลรัตนกุล
กิติ ศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคติดต่อหลายโรครวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019, วัณโรค และโรคไช้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายการติดต่อได้ทางละอองชีวภาพจากผู้ป่วย การศึกษาเพื่อการหามาตรการจัดการที่เหมาะสมที่แต่เดิมใช้วิธีการตรวจหาการแพร่กระจายของจุลชีววิทยาและการปนเปื้อนของโลหิตถูกเปลี่ยนไปเป็นหลักการฝุ่นละอองขนาดเล็ก การรักษาทางทันตกรรมนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอยดังกล่าว แต่พบว่ามีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับศัลยกรรมช่องปากจำนวนน้อยมาก โดยส่วนใหญ่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องของละอองชีวภาพที่เกิดจากทันตกรรมจะมุ่งไปที่การรักษาในทางทันตกรรมหัตถการและปริทันต์ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์คือต้องการที่จะใช้หลักการฝุ่นละอองขนาดเล็กในการวัดปริมาณของละอองชีวภาพที่เกิดขึ้นจากหนึ่งในกระบวนการศัลยกรรมช่องปากคือการตัดฟัน โดยงานวิจัยนี้จะเป็นไปในรูปแบบการทดลองตัดฟันในระบบปิดจากการใช้เครื่องมือ 3 ชนิด คือ 1.หัวกรอเร็ว 2.เครื่องพีโซอิเล็กทริค 3.หัวกรอไมโครมอเตอร์ เป็นเวลา 1 นาที และวัดปริมาณละอองชีวภาพที่เกิดขึ้นในรูปแบบของ ฝุ่นละออง PM1, PM2.5 และ PM10 ด้วยเครื่องวัดอนุภาคในอากาศ โดยผลการวิจัยพบว่าการใช้เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดในการตัดฟันสามารถสร้างละอองชีวภาพขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ปริมาณละอองชีวภาพทั้ง PM1, PM2.5 และ PM10 สูงสุดเกิดจากการใช้หัวกรอเร็วตามมาด้วยการใช้เครื่องพีโซอิเล็กทริคและหัวกรอไมโครมอเตอร์ตามลำดับ โดย ณ เวลาที่ปริมาณละอองชีวภาพสูงสุดของแต่ละการใช้เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และการใช้หัวกรอเร็วจะต้องการเวลามากที่สุดโดยใช้เวลา 16 นาที 40 วินาที เพื่อให้ค่าละอองชีวภาพกลับสู่ค่าเริ่มต้น ในขณะที่การใช้เครื่องพีโซอิเล็กทริคใช้เวลา 13 นาที 20 วินาที และการใช้หัวกรอไมโครมอเตอร์จะใช้เวลา 8 นาที 20 วินาที นอกจากนี้จากการวิจัยพบว่า กระบวนการตัดฟันโดยการใช้หัวกรอไมโครมอเตอร์จะสร้างละอองชีวภาพน้อยที่สุดและไม่เกินข้อกำนดคุณภาพอากาศในอาคารขององค์การอนามัยโลก ขณะที่การใช้หัวกรอเร็วและเครื่องพีโซอิเล็กทริคจะสร้างละอองชีวภาพในปริมาณที่สูงกว่าข้อกำหนดคุณภาพอากาศในอาคารดังกล่าว การจัดการอากาศอย่างเหมาะสมควรจะถูกพิจารณามาใช้เพื่อป้องกันการติดต่อโรคติดเชื้อทางอากาศ โดยเฉพาะในระหว่างการใช้หัวกรอเร็วและเครื่องพีโซอิเล็กทริคในการตัดฟัน และควรจะมีการกำหนดมาตรฐานระดับปริมาณของละอองชีวภาพที่เหมาะสมในคลินิกทันตกรรม
Other Abstract: Purpose: This study aimed to measure the quantity of bioaerosol generated during tooth-cutting procedures in oral surgery treatments using the concept of particulate matter (PM). Methods: In this experiment, a closed system (plastic box) replicated the tooth-cutting procedure. Three instruments (airotor, piezoelectric device, and micromotor) were used for one minute each. Bioaerosol quantity was measured using an air particle counter, assessing PM1, PM2.5, and PM10 levels. Differences between procedures were compared using one-way ANOVA test. Statistical significance was set at 95%. Results:  All three instruments generated bioaerosols significantly (p < 0.001). The airotor exhibited the highest levels of PM1, PM2.5, and PM10, followed by the piezoelectric device and the micromotor. Specifically, for PM2.5, the airotor produced 238.30 ± 69.66. The piezoelectric device produced 132.57 ± 91.05, and the micromotor generated 8.71 ± 7.20. Both airotor and piezoelectric instruments exceeded WHO indoor air quality guidelines for PM2.5 and PM10. However, the micromotor consistently generated aerosols regardless of speed. Conclusion: The micromotor had the lowest bioaerosol generation during tooth-cutting oral surgery. Effective air management, especially with piezoelectric devices, is crucial. It is recommended to avoid using the airotor in oral surgery. Standardized aerosol levels are important for ensuring safety in dental clinics.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84044
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF DENTISTRY - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370009632.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.