Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84082
Title: การศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาเมนาควิโนน-7 ต่อภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: งานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม
Other Titles: Effect of Menaquinone-7 supplementation to reduce vascular stiffness in ESRD patients receiving hemodialysis: a randomized controlled trial
Authors: นวลจันทร์ทิพย์ นัยรักษ์เสรี
Advisors: ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์
จิรัฏฐ์ พรรณจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะพร่องวิตามินเคในเลือดถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดภาวะแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดและนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งสูญเสียความยืดหยุ่นในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต อย่างไรก็ตามประโยชน์ของการให้วิตามินเคเสริมต่อโครงสร้างและหน้าที่ความแข็งแรงสมบูรณ์ของหลอดเลือดนั้นยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงกว้างและยังต้องการหลักฐานงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม การศึกษานี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้วิตามินเคหรือยาเมนาควิโนน-7ต่อการดำเนินของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มในพหุสถาบันชนิดมีกลุ่มควบคุม จัดทำขึ้นในศูนย์ไตเทียม 4 แห่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยรวบรวมผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งหมด 96 คนซึ่งมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งรุนแรงจากการประเมิน carotod-femoral pulse wave velocity (cfPWV ≥ 10 เมตรต่อวินาที) เข้ามาในการศึกษา โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษาจะได้รับการสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มการศึกษา ได้แก่ กลุ่มรักษาที่ได้รับยาเมนาควิโนน-7 (ขนาด 375 ไมโครกรัมต่อวัน) ในระยะเวลา 24 สัปดาห์ (n=50) และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาเมนาควิโนน-7 (n=46) โดยผลลัพธ์หลักของการศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งวัดด้วย cfPWV ระหว่างและหลังการรักษา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในงานวิจัย 96 คนมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม ระหว่างการรักษาที่ 12 สัปดาห์พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มรักษาที่ได้รับยาเมนาควิโนน-7 มีแนวโน้มของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (-13.0 ± 20.7% vs -6.8 ± 21.1%, p=0.18) เมื่อวิเคราะห์ในกลุ่มย่อยพบว่า กลุ่มรักษาที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วยมีการลดลงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่มากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วย (-9.9±13.8% vs 1.9±17.2%, p = 0.065) นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยในกลุ่มรักษามีการดำเนินของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อตรวจติดตามค่า cfPWV ที่ 12 สัปดาห์  (21.4% vs 34.1%, p = 0.20) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วยเช่นกัน (21.4% vs 58.3%, p = 0.054) ทั้งนี้ระหว่างการศึกษาที่ 12 สัปดาห์ยังไม่พบรายงานยาเมนาควิโนน-7ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อผู้ป่วยในงานวิจัยนี้ สรุปผลการศึกษา: การให้ยาเมนาควิโนน-7 รับประทานเสริมขนาด 375 ไมโครกรัมต่อวัน ในระยะเวลา 24  สัปดาห์พบว่า มีแนวโน้มในการลดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจากการวัดด้วย cfPWV ในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม:7 ซึ่งผลลัพธ์เดียวกันนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นในผู้ป่วยที่ภาวะเบาหวานร่วมด้วย อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในแง่ผลลัพธ์ทางคลินิกของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจเพิ่มเติมในอนาคต
Other Abstract: Background: Vitamin K deficiency is one of the most important risk factors of vascular calcification and arterial stiffness in chronic kidney disease and dialysis patients. However, the benefit of vitamin K supplementation on structural and functional vascular health are still not established. This study was aimed to evaluate the efficacy of menaquinone-7 (MK-7) supplementation on arterial stiffness in chronic hemodialysis (HD) patients. Methods: This open-label multicenter randomized clinical trial was conducted in 96 HD patients who had arterial stiffness, defined by high carotid femoral pulse wave velocity (cfPWV ≥ 10 m/s). The patients were randomly assigned to receive oral MK-7 (375 mcg once daily) for 24 weeks (n = 50) or standard care (control group; n = 46). The change of cfPWV was evaluated as primary outcome.  Results: The baseline parameters were comparable between two groups. At 12 weeks, patients who received MK-7 had a trend in decreasing in cfPWV compared with standard care (-13.0 ± 20.7% vs -6.8 ± 21.1%, p=0.18). This effect is more prominent in diabetes patients (-9.9±13.8% vs 1.9±17.2%, p = 0.065), In addition, the MK-7 group had lower rate of arterial stiffness progression compared with control group (21.4% vs 34.1%, p = 0.20), especially in diabetes patients (21.4% vs 58.3%, p = 0.054). There were no serious adverse events observed during 12 weeks. Conclusion: Vitamin K supplementation provided a trend in decreasing arterial stiffness at short term follow up without serious adverse effects, especially patients with diabetes. However, the benefit on vascular heath and cardiovascular outcomes are still needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84082
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF MEDICINE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370121630.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.