Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84092
Title: กิจกรรมและนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อในสถานประกอบการของงานทรัพยากรบุคคล ประเทศไทย
Other Titles: Workplace health promotion and non-communicalbe disease prevention activities and policies among human resources departments in Thailand
Authors: เตชิต เตชะมโนดม
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
เจตน์ รัตนจีนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถานประกอบการมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ วิถีชีวิต และเป็นสถานที่ที่มีโอกาสจะโน้มน้าวพฤติกรรม รวมทั้งสร้างเสริมสุขภาพของพนักงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการ และนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพในที่ทำงานของสถานประกอบการเอกชน งานวิจัยนี้เป็นการการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม จากผู้บริหาร และบุคลากรฝ่ายทรัพยากรบุคคลในบริษัท 814 แห่งในประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2566 พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ระยะเวลาดำเนินงานของสถานประกอบการ ขนาดสถานประกอบการ และการจัดสรรงบประมาณ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบสองตัวแปรระหว่างข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ และนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพในที่ทำงานของสถานประกอบการ พบว่าปัจจัยเรื่องการจัดสรรงบประมาณ มีความสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบายในทุกหัวข้อ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาการดำเนินงานของสถานประกอบการ ขนาดสถานประกอบการ และการจัดสรรงบประมาณมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จในการดำเนินการและความเป็นไปได้ของนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของพนักงานภายในสถานประกอบการ
Other Abstract: The workplace impacts the health of the workforce, thereby assuming a pivotal role in socioeconomic advancement. This study aimed to investigate the executions and potential of workplace health promotion (WHP) policies in workplaces. A cross-sectional study was undertaken among the Human Resources (HR) executives and personnel across listed 814 enterprises located in Thailand between January and March 2023. We found that WHP executions demonstrated a significant association with longer business operations, large-scale enterprises, and budget allocation. The WHP policies showed significant associations with budget allocation for health promotion, including policies on employee involvement, physical environment, psychological support, engagement and trust, management and leadership, work design, and monitoring and evaluation. This study indicates that the duration of organizational operations, the size of the organization, and the allocation of budgetary resources for health promotion play crucial roles in determining the successful executions and feasibility of WHP policies within organizations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84092
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF MEDICINE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6570035530.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.