Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84094
Title: คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเจ้าพนักงานและพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Sleep quality and related factors among Disaster Prevention and Mitigation Officers in Bangkok
Authors: นันท์นภัส ปิยชัยเศรษฐ์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
เจตน์ รัตนจีนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเจ้าพนักงานและพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าพนักงานและพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 472 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ทำการศึกษาระหว่าง เดือน มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2566 แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และละแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างตัวแปรสองตัว และวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี จำนวน 208 คน (ร้อยละ 44.1) เมื่อควบคุมตัวกวนแล้วพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีความขัดแย้งกัน (OR=1.78, 95%CI:1.09-2.93) การทำงานเสริมช่วงเวลาระหว่าง 8.00 - 20.00 น. (OR=2.36, 95%CI:1.27-4.39) การทำงานเสริมหลังเวลา 20.00 น. (OR=4.26, 95%CI:1.08-16.73) ห้องพักเวรที่มีเสียงดัง (OR=1.72, 95%CI:1.07-2.76) และห้องพักเวรที่มีความไม่สะดวกของเครื่องนอนขณะนอนหลับ (OR=2.98, 95%CI:1.82-4.91) ดังนั้นองค์กรควรส่งเสริมนโยบายการพัฒนาคุณภาพการนอนหลับ โดยมุ่งเน้นในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะดังกล่าว ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเสริม ควรส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี เพื่อให้บุคลากรมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีต่อไป
Other Abstract: This research is a cross-sectional study aimed at investigating the sleep quality and related factors among disaster prevention and mitigation officers in Bangkok, Thailand. The study sample consisted of 472 disaster prevention and mitigation officers in Bangkok. The sample was selected using stratified random sampling. The study was conducted during January and March 2023 by collecting the data via questionnaire assessing personal factors, work-related factors, environmental factors, and Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index (T-PSQI). Data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics including bivariate analysis and multiple logistic regression to determine the explanatory variables of poor sleep quality. Among the participants, 208 individuals (44.1%) had poor sleep quality. After adjustment for confounding factors, statistically significant factors associated with poor sleep quality were poor family relationship (OR=1.78, 95%CI:1.09-2.93), working part-time during 8am and 8pm (OR=2.36, 95%CI:1.27-4.39), working part-time after 8pm (OR=4.26, 95%CI:1.08-16.73), loud noise at the sleep room (OR=1.72, 95%CI:1.07-2.76) and uncomfortable beddings at the sleep room (OR=2.98, 95%CI:1.82-4.91). Therefore, organizations should promote policies for improving sleep quality with a focus on high-risk groups such as those working part-time. Administrators should promote activities related to good sleep hygiene in order to ensure that personnel have good quality sleep in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84094
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF MEDICINE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6570047030.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.