Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8414
Title: ผลของการใช้แคลเซียมคลอไรด์และไคโตซานต่อการรักษาคุณภาพของข้าวโพดฝักอ่อน Zea mays L. ระหว่างการเก็บรักษา
Other Titles: Effects of calcium chloride and chitosan treatments on quality maintenance of baby corn Zea mays L. during postharvest storage
Authors: ฉัตรวรุณ พจนการุณ
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kanogwan.k@chula.ac.th
Subjects: ข้าวโพดฝักอ่อน -- การเก็บและรักษา
แคลเซียมคลอไรด์
ไคโตแซน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและการรักษาคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาข้าวโพด ฝักอ่อนพันธุ์มหัศจรรย์และพันธุ์แปซิฟิก 283 ที่ผ่านการแช่ในสารละลาย CaCI [subscript2] ระดับความ เข้มข้น 0 1 2 3 และ4% เป็นเวลา 2และ4 นาที ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 วัน โดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของข้าวโพดฝักอ่อนในวันที่ 0 3 6 9 12 15 18 และ21 วันของการเก็บรักษา พบว่าชุดการทดลองที่ใช้ CaCI [subscript2] ความเข้มข้น 4% แช่เป็นเวลา 4 นาที สามารถรักษา ความแน่นเนื้อและชะลอการเกิดเส้นใยได้มากที่สุดในข้าวโพดฝักอ่อนทั้งสองพันธุ์ ส่วนการแช่ข้าวโพด ฝักอ่อนในสารละลายไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 0 5 10 20 และ 40 ppm เป็นเวลา 2 และ 4 นาทีพบว่า ชุดการทดลองที่เหมาะสมที่สุดคือชุดการทดลองที่ใช้ไคโตซานความเข้มข้น 5 และ 40 ppm แช่เป็นเวลา 4 นาที โดยชุดการทดลองที่แช่ไคโตซานความเข้มข้น 5 ppm เป็นเวลา 4 นาที ก่อนการเก็บรักษา สามารถ รักษาความแน่นเนื้อได้มากที่สุด และการใช้ไคโตซานความเข้มข้น 40 ppm แช่เป็นเวลา 4 นาที สามารถ ชะลอการเกิดเส้นใยได้มากที่สุดในข้าวโพดฝักอ่อนทั้งสองพันธุ์ ส่วนผลของการเลือกใช้ CaCI [subscript2] ความเข้มข้น 4% ร่วมกับไคโตซานความเข้มข้น 5 หรือ 40ppm แช่เป็นเวลา 4 นาที ในการรักษาคุณภาพ ของข้าวโพดฝักอ่อน พบว่าข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์มหัศจรรย์ที่ผ่านการแช่ CaCI [subscript2] 4% มีการ สูญเสียน้ำหนักสดน้อยที่สุด และการแช่ CaCI [subscript2] 4% ร่วมกับไคโตซาน 40 ppm ช่วยลดปริมาณ เส้นใยในข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิก 283 นอกจากนี้ชุดการทดลองที่ผ่านการแช่ CaCI [subscript2] 4% ร่วมกับไคโตซาน 5 ppm สามารถลดอัตราการหายใจและแอคติวิตีของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสได้ใน ข้าวโพดฝักอ่อนทั้งสองพันธุ์
Other Abstract: The effectiveness of CaCI [subscript2] and chitosan, alone or in combination, to maintain the quality of ' Amazing' and 'Pacific' 283' baby corn was investigated. All treaments were applied by postharvest dipping of baby corn for 2 and 4 minuted, air-dried, and then kept at 3 degrees celsius. The physiological changes of baby corn were recorded on day 0, 3, 6, 9, 12, 15, 18, and 21 after storage. In single. In single treatment, 4% CaCI [subscript2] dipped for 4 minutes significantly maintained firmness and decreased fiber content in both cultivars. In addition, 5 ppm chitosan maintainde firmness and 40 ppm chitosan significantly decreased fiber content during postharvest storage.In combination, baby corns were dipped in 4% CaCI [subscript2] and 5 or 40 ppm chitosan for 4 minutes. The results shown that 4% CaCI [subscript2] significantly decreased weight loss in 'Amazing' baby corn. Combined treatment of 4% CaCI [subscript2] and 40 ppm chitosan significantly decreased fiber content in 'Pacific 283' baby corn, Wherease, 4% CaCI [subscript2] and 5ppm chitosan resulted in significantly reduced respiration rate and polygphenol oxidase activy in both cultives. Therefore, the result suggested that CaCI [subscript2] and chitosan treatments can maintain the postharvest quality of baby corn during storage.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8414
ISBN: 9741738277
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatwaroon.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.