Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84235
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Tassanee Chetwittayachan | - |
dc.contributor.advisor | Mongkolchai Assawadithalerd | - |
dc.contributor.author | Nisakorn Amphalop | - |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Graduate School | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T10:06:36Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T10:06:36Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84235 | - |
dc.description | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2019 | - |
dc.description.abstract | The research aimed to investigate the contamination and fractionations, and evaluate the ecological risk posed by heavy metals in the e-waste site in Daeng Yai and Ban Pao e-waste dismantling sites, Buriram Province, Thailand. The soil samples were taken from e-waste houses (EW), and e-waste open-burning sites (OB) as representatives of the e-waste sites, while soils from paddy fields (PF), non-e-waste houses, and groundwater wells represented the surrounding area, and the reference site was located 5 km away from the e-waste dismantling site. The soil samples were digested by aqua regia by the microwave digester for total heavy metal determination, and the metals in soils were sequentially extracted following the modified BCR sequential extraction procedure. The contents of As, Cd, Cr, Cu, Mn, Ni, Pb, and Zn were analyzed by Inductively Coupled Plasma-Optical Emission Spectroscopy (ICP-OES). The concentrations of Cd, Cu, Pb, and Zn in OB were significantly higher (p | - |
dc.description.abstractalternative | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อน รูปฟอร์มของโลหะหนักและการประเมินความเสี่ยงต่อระบบนิเวศของการปนเปื้อนโลหะหนักในดินบริเวณชุมชนรื้อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตำบลแดงใหม่และตำบลบ้านเป้า จังหวัดบุรีรัมย์ โดยดินตัวอย่างถูกเก็บมาจากบริเวณที่มีกิจกรรมการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งประกอบด้วยบริเวณบ้านที่มีกิจกรรมการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์และบริเวณจุดเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งประกอบด้วยดินนาข้าวที่ตั้งอยู่รอบบริเวณจุดเผา ดินบริเวณบ้านที่ไม่มีกิจกรรมการคัดแยกและดินบริเวณบ่อน้ำใต้ดิน โดยดินที่กำหนดให้เป็นจุดอ้างอิงอยู่ไกลจากบริเวณจุดคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกไป 5 กิโลเมตร จากนั้นย่อยตัวอย่างดินด้วยกรดไนตริกผสมกับกรดไฮโดรคลอริกด้วยเครื่องไมโครเวฟและสกัดรูปฟอร์มของโลหะหนักโดยใช้วิธีการสกัดลำดับขั้นตอนแบบบีซีอาร์ดัดแปลง จากนั้นตรวจปริมาณของโลหะหนักทั้ง 8 ชนิด (สารหนู แคดเมียม โครเมียม ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล ตะกั่ว และสังกะสี) ด้วยเครื่อง inductively coupled plasma-optical emission spectroscopy (ICP-OES) ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณแคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสีในดินบริเวณจุดเผาสูงกว่าในดินบริเวณจุดอ้างอิงและจุดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดการปนเปื้อนโลหะในดินอย่างมีนัยสำคัญ โดยปริมาณสารหนู ทองแดง ตะกั่วและสังกะสี เกินค่ามาตรฐานเนเธอร์แลนด์ (intervention value) ที่บ่งบอกถึงการปนเปื้อนระดับที่สูงและควรได้รับการพิจารณาเพื่อบำบัด ปริมาณโลหะหนักทุกชนิดในดินนาข้าวมีความเข้มข้นรองลงมาจากที่พบในดินบริเวณจุดเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อการปนเปื้อนโลหะหนักในดินของบริเวณโดยรอบ ผลการศึกษารูปฟอร์มของโลหะหนักในดินพบว่า การกระจายตัวของสารหนูและนิกเกิลส่วนใหญ่อยู่ในรูปฟอร์มที่ถูกออกซิไดซ์ได้ (oxidizable fraction) แคดเมียม ทองแดงและตะกั่วส่วนใหญ่อยู่ในรูปฟอร์มที่ถูกรีดิวซ์ได้ง่าย (reducible fraction) สังกะสีและแมงกานีสส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable/acid soluble fraction) ผลจากการประเมินความเสี่ยงต่อระบบนิเวศด้วยวิธี Potential Ecological Risk Index (PERI) และ Risk Assessment Code (RAC) ที่พิจารณาความเข้มข้น ความเป็นพิษและความสามารถที่จะเคลื่อนที่ไปสู่สิ่งมีชีวิตของโลหะหนัก พบว่าแคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว นิกเกิล และสังกะสี ก่อให้เกิดค่าความเสี่ยงสูงในระบบนิเวศของบริเวณจุดเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ทองแดงก่อให้เกิดค่าความเสี่ยงสูงในระบบนิเวศบริเวณนาข้าวที่อยู่ติดบริเวณจุดเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ | - |
dc.language.iso | en | - |
dc.publisher | Chulalongkorn University | - |
dc.rights | Chulalongkorn University | - |
dc.subject.classification | Environmental Science | - |
dc.subject.classification | Water supply; sewerage, waste management and remediation activities | - |
dc.title | Ecological risk assessment of heavy metals in soils from an informal e-waste dismantling site, Buriram province, Thailand | - |
dc.title.alternative | การประเมินความเสี่ยงต่อระบบนิเวศของการปนเปื้อนโลหะหนักในดินบริเวณชุมชนรื้อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | Master of Science | - |
dc.degree.level | Master's Degree | - |
dc.degree.discipline | Hazardous Substance and Environmental Management | - |
dc.degree.grantor | Chulalongkorn University | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6187527620.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.