Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84271
Title: Evaluation of the greenhouse gas emissions resulting from waste management practices at the Central Plaza Rattanathibet shopping center: A case study
Other Titles: การประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการจัดการของเสียภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซารัตนาธิเบศร์: กรณีศึกษา
Authors: Kanokpish Srinok
Advisors: Nuta Supakata
Seksan Papong
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 2023
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Waste management in shopping center represents a human activity that has the potential to emit greenhouse gases, contributing to climate change. This issue is an urgent and challenging problem that every global organization is paying attention to. This research presents an integrated approach that combines three critical aspects of sustainable waste management in the shopping center: waste composition analysis, greenhouse gas emissions calculation, and an examination of customer and staff attitudes towards waste separation in shopping center. The study conducted a comparison between two waste management scenarios. Scenario 1 represents the current waste management approach in the shopping center, primarily relying on landfilling, while Scenario 2 presents an integrated waste management strategy that includes four waste disposal methods: landfilling, composting, refuse-derived fuel (RDF 5), and recycling.The results indicated that in the year 2022, the shopping center produced a total of 1,967.47 tonnes of waste annually. The investigation revealed the predominant waste compositions in the shopping center, with food waste (39.28%), followed by other waste (24.63%), plastic waste (15.52%), paper and board (10.48%), and glass (5.45%). To assess greenhouse gas emissions, the study adhered to the 2006 IPCC Guidelines for Greenhouse Gas National Inventories. Scenario 1, characterized by landfill-only waste management, resulted in greenhouse gas emissions equivalent to 124.94 tonnes of CO2eq/year. In contrast, scenario 2, which embraced integrated waste management, demonstrated significantly reduced greenhouse gas emissions, equivalent to - 839.37 tonnes of CO2eq/year. The presence of this negative value signifies that the waste management methods in scenario 2 led to a net decrease in greenhouse gas emissions when compared to scenario 1. This reduction was accomplished through the adoption of waste management strategies like RDF 5, composting, and recycling, all of which directly contributed to the decline in greenhouse gas emissions within scenario 2. Moreover, the research findings indicated that both the intention and the perceived ability to control behavior had a favorable influence on waste reduction and segregation. This result was due to respondents expressing their willingness to participate in waste separation and their confidence in their ability to effectively reduce and separate waste. Therefore, promoting waste separation among customers and staff within shopping centers could potentially enhance waste management. The insights gained from this study offer valuable guidance to policymakers in Nonthaburi Municipality as they address climate change and implement strategies to mitigate its effects.
Other Abstract: การจัดการขยะในศูนย์การค้าเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อโลก ปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนและท้าทายที่ทุกองค์กรทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอแนวทางบูรณาการที่รวมเอาประเด็นสำคัญ 3 ประการของการจัดการขยะที่ยั่งยืนในศูนย์การค้าได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะ การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการศึกษาทัศนคติของลูกค้าและพนักงานต่อการคัดแยกขยะในศูนย์การค้า การศึกษานี้ได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์การจัดการขยะ 2 สถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่ 1 เป็นแนวทางการจัดการขยะในปัจจุบันของศูนย์การค้า โดยมีการจ้ดการด้วยวิธีการฝังกลบเป็นหลัก ในขณะที่สถานการณ์ที่ 2 เป็นการนำเสนอกลยุทธ์การจัดการขยะแบบบูรณาการซึ่งรวมถึงวิธีการกำจัดขยะ 4 วิธีเข้าด้วยกัน ได้แก่ การฝังกลบ การทำปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิงจากขยะ (RDF 5) และการรีไซเคิล โดยผลการวิจัยพบว่าในปี 2565 ห้างสรรพสินค้ามีขยะเกิดขึ้นทั้งหมด 1,967.47 ตันต่อปี จากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบขยะส่วนใหญ่ในห้างสรรพสินค้า ได้แก่ ขยะอาหาร (39.28%) รองลงมาคือขยะอื่น ๆ (24.63%) ขยะพลาสติก (15.52%) กระดาษและกระดาน (10.48%) และแก้ว ( 5.45%) นอกจากนี้ ในการศึกษายังได้มีการใช้แนวทาง IPCC ปี 2006 เพื่อประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในสถานการณ์ที่ 1 ซึ่งมีการจัดการขยะแบบฝังกลบเพียงวิธีเดียวได้ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับ 124.94 ตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ในทางตรงกันข้าม สถานการณ์ที่ 2 ซึ่งมีใช้การจัดการขยะแบบผสมผสานและแสดงให้เห็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญสุทธิซึ่งคิดเป็น - 839.37 ตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ผลลบนี้บ่งบอกได้ว่าวิธีการจัดการขยะในสถานการณ์ที่ 2 ส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่ 1 อีกทั้งการลดลงของปริมาณก๊าซเรือนกระจกเในสถานการณ์ที่ 2 เกิดขึ้นได้จากการนำกลยุทธ์การจัดการขยะมาใช้ เช่น RDF 5 การทำปุ๋ยหมัก และการรีไซเคิล นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าทั้งความตั้งใจและความสามารถในการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการลดและการคัดแยกขยะในศูนย์การค้า เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการแยกขยะและมีความมั่นใจในความสามารถในการลดและคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการส่งเสริมการคัดแยกขยะกับลูกค้าและพนักงานภายในห้างสรรพสินค้าอาจมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะได้ อีกทั้งข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะสามารถเป็นแนวทางแก่ผู้กำหนดนโยบายของเทศบาลนครนนทบุรีในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2023
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Hazardous Substance and Environmental Management
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84271
Type: Thesis
Appears in Collections:GRADUATE SCHOOL - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6488049720.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.