Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84727
Title: คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชันต่อการต้านการเจริญและการสร้างเมลานินของนีโอสีทตาลิเดียม ไดมิเดียเอตุม ที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราที่เล็บ
Other Titles: Effect of Turmeric oil on antifungus and melanogenesis in Neoscytalidium dimidiatum causing onychomycosis
Authors: กัญญานัฐ ครองบุญ
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
อริยา จินดามพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นีโอสีทตาลิเดียม ไดมิเดียเอตุม (N. dimidiatum) เป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเชื้อราที่เล็บและที่เท้า ตัวเชื้อสามารถสร้างเมลานินซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคมีความรุนแรง จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ต้องการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน (TEO) ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อและการสร้างเมลานิน โดยทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการด้วยเชื้อ นีโอสีทตาลิเดียม ไดมิเดียเอตุม จำนวน 10 ตัวอย่าง ทดสอบการยับยั้งการเจริญเชื้อใน 7 วัน โดย 2-20% TEO ด้วยวิธี agar dilution method และทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการสร้างเมลานินด้วยการเปรียบเทียบปริมาณเมลานินก่อนและหลังสัมผัส 4% และ10% TEO โดยเมลานินถูกจับอย่างจำเพาะด้วย melanin-specific monoclonal antibody (MAb) 8D6 จากนั้นวัดค่า immunofluorescence intensity (IF) โดยใช้ กล้องจุลทรรศน์อิมมูโนฟูออเรสเซนต์กำลังขยาย 1,000 เท่า จากการศึกษาพบว่า  20% TEO สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ นีโอสีทตาลิเดียม ไดมิเดียเอตุม ได้อย่างมีนัยสำคัญ และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย immunofluorescence intensity ในเชื้อที่สัมผัส 4% และ10% TEO (1.592 (p=0.001) และ 1.705 (p=0.003) พบว่ามีค่า IF ที่ต่ำกว่าเชื้อที่ไม่ได้สัมผัส TEO (7.575) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า TEO มีประสิทธิภาพที่นำมาใช้ในการรักษาการติดเชื้อจาก นีโอสีทตาลิเดียม ไดมิเดียเอตุม แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษากลไกการทำงานของ TEO ในการเป็นยาต้านเชื้อราว่าสามารถนำมาใช้ในร่างกายเพื่อรักษาการติดเชื้อเหล่านี้ได้หรือไม่
Other Abstract: Neoscytalidium dimidiatum, a cause of onychomycosis and tinea pedis, produces melanin, a virulence factor. This study aimed to establish fungistatic properties and melanogenesis prevention of Curcuma longa (turmeric) essential oil (TEO) against N.dimidiatum in vitro. Testing involved 10 clinical isolates of  N.dimidiatum. TEO concentrations in this study varied from 2% to 20%. Sensitivity testing involved agar dilution over 7 days to find the minimal inhibitory dilution. Melanogenesis inhibition was assessed by comparing melanin levels in untreated and 4% or 10% TEO treated isolates. Melanin was detected using MAb 8D6, measuring immunofluorescence intensity (IF) at 1,000x magnification with an immunofluorescent microscope. The TEO concentration significantly inhibiting N.dimidiatum growth was the 20% solution. The 4% and 10% TEO preparation treated isolates of N.dimidiatum gave significantly lower (1.592 (p=0.001) and 1.705 (p=0.003)) mean IF than the untreated isolate (7.575).  In summary, 20% TEO significantly inhibited N.dimidiatum growth and both 4% and 10% TEO samples inhibited melanogenesis. We conclude that TEO has therapeutic potential for use against infections caused by N.dimidiatum. Further studies are needed to determine what the antifungal mechanism is and if it can be used in vivo to treat these infections.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84727
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF MEDICINE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6271010730.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.