Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวภา เวชสุรักษ์-
dc.contributor.authorขวัญใจ คงถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-19T11:16:22Z-
dc.date.available2024-02-19T11:16:22Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84728-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิวัฒนาการละครในตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) ศึกษารูปแบบการแสดงละครใน เรื่อง อิเหนา ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สื่อวีดิทัศน์ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสังเกตวิธีการแสดงละครใน โดยมีขอบเขตของการศึกษา คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงละครในตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ 2) ศึกษาลักษณะการแสดงละครในแบบหลวงเรื่องอิเหนา ซึ่งถ่ายทอดจากอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2559 ที่ปรากฏในการแสดงของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า คำเรียก“ละครใน”ปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมจะเรียกชื่อต่างกันไป ทั้งคำว่า ละครในบริรักษ์จักรี, ละครหลวง, ละครผู้หญิง, ละครข้างใน แต่มีความหมายเดียวกัน คือ หมายถึงละครผู้หญิงที่ใช้นางในราชสำนักมาฝึกหัดเป็นผู้แสดงและอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ หลักฐานที่เกี่ยวกับละครในพบครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาจากบุณโณวาทคำฉันท์ โดยกล่าวถึงการแสดงละครในเรื่องอนิรุทธและอิเหนาซึ่งเป็นละครในบริรักษจักรี แปลว่าละครของพระมหากษัตริย์ เมื่อกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 ส่งผลให้ละครของหลวงต้องแพร่กระจายไปที่ต่างๆ บางส่วนได้ถูกกวาดต้อนไปยังประเทศพม่าจนเกิดรูปแบบละครโยเดีย ครั้นสมัยกรุงธนบุรีละครในจะเรียกว่าละครผู้หญิงซึ่งมีทั้งของหลวงและของเจ้านครฯ โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าตากสิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์รูปแบบละครในมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปหลายสิ่งที่เห็นได้ชัดคือในสมัยรัชกาลที่ 1 อันเป็นยุคฟื้นฟูบ้านเมืองรวมไปถึงงานศิลปะอย่างละครใน ได้มีการรวบรวมจัดทำ“ตำรารำ”ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้เป็นสมบัติชาติ ครั้นถึงรัชกาลที่ 2 ได้มีการพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่เพื่อใช้สำหรับเล่นละครใน โดยทำการซ้อมและปรับปรุงกระบวนท่ารำให้สอดคล้องกลมกลืน ตัวละครหลวงในยุคนี้ได้เป็นครูละครให้คณะต่างๆในชั้นหลัง ส่งผลให้รูปแบบละครในยุคนี้ได้เป็นแบบอย่างละครรำในระยะต่อมา ต่อมาใน สมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการยกเลิกข้อห้ามเกี่ยวกับละครใน ทำให้ผู้มีบรรดาศักดิ์พากันมีละครตามแบบอย่างของหลวง จะเห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการละครใน คือ นโยบายและรสนิยมของพระมหากษัตริย์หรือผู้นำในแต่ละยุค รวมทั้งป๎จจัยภายนอกทั้งอิทธิพลต่างชาติ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละยุคสมัย รูปแบบของละครในแบบดั้งเดิมนับเป็นรากฐานที่พัฒนาและก่อให้เกิดปริวรรตไปสู่รูปแบบการแสดงละครในยุคต่อมาอย่างละครดึกดำบรรพ์ อีกทั้งยังต่อยอดไปถึงการสร้างสรรค์งานนาฏยจารีตต่างๆดังเช่นในป๎จจุบันอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis dissertation is a qualitative research aiming 1) to study the evolution of Lakhon Nai and 2) to examine the pattern of I-nao in Rattanakosin period. This document research was conducted through related printed media, videos, in-depth interview to experts, and observation. The scope of study covers 1) background and evolution related to Lakhon Nai from Ayudha period to Rattanakosin period, 2) pattern of Lakhon Nai showing the story of I-nao from the past until 2016 at Bunditpatanasilpa Institute and Fine Arts Department, Ministry of Culture. The findings show that the term “Lakhon Nai” was coined in Rattanakosin period; before that, this kind of performance was variously called including “Lakhon Nai Borichakkri”, “Lakhon Luang”, “Lakhon Pooying”, and “Lakhon Kangnai”. All of them conveyed the same meaning as “classical plays performed by women in royal court which was under the king’s patronage”. The first evidence of Lakhon Nai was found in Bunnowat Khumchan (Bunnowat Poem) of Ayudha period. It mentioned Anirut and I-nao (originally from Indonesian “Panji”) which were both Lakhon Nai Borichakkri meaning “plays of the king”. After the ruin of Ayudha in 1767, this kind of plays spread to other places such as in Myanmar. This point was the origin of Yodia or Yodaya plays of Myanmar. In Thonburi period, Lakhon Nai was called “Lakhon Pooying” (female plays). This plays were support by either King Taksin or city rulers but those supported by the city rulers needed to be permitted by King Taksin. In the beginning of Rattanakosin period in which a lot of restoration work was required, King Rama I created “Tamra Ram” (The Collection of Classical Dances) including the dancing styles from Ayudha period as a national heritage. Then, in King Rama II period, a new version of plays was composed for the Lakhon Nai. This revision included new dancing style and pose. The performers in the Lakhon Nai from this period became masters of Lakhon Nai later on. Therefore, this pattern become the master pattern for later Lakhon Nai. In King Rama IV period, prohibition and restriction of Lakhon Nai was aborted. Noblemen imitated the royal practice which resulted in expansion of Lakhon Nai to noblemen and ordinary people. It can be seen that the most important factors of the evolution of lakhon Nai were policy and taste of the kings and rulers. External factors such as foreign influence, economy and society in each period also affect the evolution. The traditional pattern was the important foundation of the development and transformation of Lakhon Nai in later period such as Lakhon Dukdamban and has progressed to the creation of dancing convention at the present.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectละครในen_US
dc.titleวิวัฒนาการละครในen_US
dc.title.alternativeThe evolution of Lakhon Naien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986804735.pdfไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม10.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.