Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8591
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรัญญา พลพรพิสิฐ | - |
dc.contributor.author | ศักดิ์ชัย โตภานุรักษ์ | - |
dc.contributor.author | จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-01-07T08:14:27Z | - |
dc.date.available | 2009-01-07T08:14:27Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8591 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินการติดเชื้อภายนอกที่พบในปลาหางนกยูง (Poecilia reticulatea) ที่จำหน่ายที่ตลาดซันเดย์ในกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยการสำรวจข้อมูลร้านค้าที่ขายปลาหางนกยูงและแหล่งที่มาของปลาทั้งหมดที่ขายในตลาดแห่งนี้ สุ่มตัวอย่างโดยการซื้อปลาจากร้านขายปลาหางนกยูง ที่จัดแบ่งคุณภาพร้านเป็น 3 ระดับ คือ ดีมาก (A) ดี (B) และปานกลาง (C) จำนวน 9 ร้าน ร้านละ 10 ตัว ไม่แยกเพศ ไม่แยกสายพันธุ์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำการตรวจพยาธิภายนอกในวันแรก และวันที่ 7 โดยการวางยาสลบและส่องตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์เตอริโอ กำลังขยาย 40 เท่า นับจำนวนพยาธิแต่ละชนิดที่พบ จากนั้นนำปลาแต่ละร้านมาแยกเลี้ยงไว้โดยไม่ให้อาหาร ไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ นับจำนวนปลาตายสะสมทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม และการสังเกตการณ์ พบว่าร้านค้าประจำที่ขายปลาหางนกยูงที่ตลาดซันเดย์มีจำนวน 32 ร้าน ไม่รวมถึงแผงลอยที่ตั้งขายเป็นบางวัน ปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ได้มาจากฟาร์มที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรปราการ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง และราชบุรี ผลการตรวจพบว่ามีพยาธิภายนอกเพียง 5 ชนิด คือ Monogenean, Trichodina, Tetrahymena, Ichthyophirius และ Apiosoma โดยชนิดที่พบได้บ่อยและมากที่สุด คือ Monogenean ซึ่งตรวจพบสูงสุดในเดือนสิงหาคม (57.57%) และพบน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม (28.04%) Trichodina ตรวจพบสูงสุดในเดือนมีนาคม (14.81%) และพบน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ (2.34%) Tetrahymena ตรวจพบได้ค่อนข้างน้อยโดยตรวจพบสูงสุดในเดือนพฤษภาคมเพียง 4.44% และตรวจไม่พบเลยในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน สิงหาคม และตุลาคม ส่วน Ichthyophthirius และ Apiosoma ตรวจพบเพียงครั้งเดียวใน 1 ตัวอย่างจากกลุ่มร้านในระดับ B ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมิถุนายน ตามลำดับ และจากการแบ่งเกรดร้านออกเป็น 3 ระดับ คือ A B และ C พบว่าปลาที่จำหน่ายในร้านที่จัดอยู่ในระดับ C สามารถถูกตรวจพบพยาธิภายนอกได้มากและบ่อยครั้งกว่ากลุ่มร้านในระดับ A และ B | en |
dc.description.abstractalternative | This study is to survey for external parasites in guppy (Poecilia reticulate) at Bangkok’s Sunday market for period for one year. Observation and questionnaires were applied to collect information of fish origin and general data about each fish shop. Ninety guppies of mixed varieties and sex were bought from nine shops which were classified into three grades of A (very good) B (good) and C (fair) every week. Laboratory checking for external parasites was carried out twice on the first and seventh day of purchase. Fish was anesthetized and examined under stereomicroscope at 40x magnification. Then the external parasite differential count was done on five fish of each shop. Remaining fish was kept in separate glass aquarium without feeding and water changing. Accumulated mortality rate for 7 days was recorded. The results showed that there were 32 guppy-selling shops in this market regardless a number of fish selling street vendors. The survey results showed that most of guppy sold in all shops was brought from fish farms located in Bangkok, Angthong, Nakornpathom, Samutrprakarn, Supanburi, Karnchanaburi and Ratchaburi provinces. The project was carries out during December 2001 and November 2002. All guppies were examined for external parasites. Five kinds of parasites were found. These were 1) monogenic trematode which was most abundant in August (57.57%) and lowest in December (28.04%) 2) Tricodina sp. Which was highest in March (14.81%) and lowest in February (2.34%) 3) Tetrahymena sp. Which was highest in May (4.44%) and lost (0%) in February, April, August and October 4) Ichthyophthirius was found only once in February and 5) Apiosoma was found once in June. These parasites were more often found in guppies from C-grade shop more than A and B ones. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ | en |
dc.format.extent | 8319477 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปลาหางนกยูง -- พยาธิ | - |
dc.subject | ปลาหางนกยูง -- โรค | - |
dc.title | การสำรวจพยาธิภายนอกชนิดต่างๆ ที่พบในปลาหางนกยูงที่ตลาดซันเดย์ : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Survey of external parasites in guppy at the Sunday market | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | paranya@chula.ac.th, Aranya.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | jirasak.t@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aranya_sur.pdf | 8.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.