Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8693
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ | - |
dc.contributor.author | วิชัย เชิดชีวศาสตร์ | - |
dc.contributor.author | สุกัญญา วีรวัฒนกุมภะ | - |
dc.contributor.author | ไพลิน สิทธิเชียรวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ปัญญา เต็มเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-01-19T06:42:56Z | - |
dc.date.available | 2009-01-19T06:42:56Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8693 | - |
dc.description.abstract | ขณะนี้กำลังมีการตื่นตัวกันมากในแง่ของการนำกวาวเครือขาว, กวาวเครือแดง และกวาวเครือดำ มาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เป็นยาสมุนไพร และอาหารเสริมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศและระบบสืบพันธุ์ แต่จะเห็นได้ว่ายังไม่มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการหาขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสมของกวาวเครือที่ปลอดภัย ที่จะนำไปใช้ได้พิษวิทยาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กวาวเครือรวมไปถึงผลต่อระบบสืบพันธุ์ ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 7การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 และ 2 เป็นการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังของกวาวเครือแดงในหนูเมาส์ และผลต่อฮอร์โมนเพศและอวัยวะสืบพันธุ์ในหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย การทดลองที่ 3 และ 4 เป็นการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังของกวาวเครือดำในหนูเมาส์ และผลต่อฮอร์โมนเพศและอวัยวะสืบพันธุ์หนูแรทเพศผู้และเพศเมีย และการทดลองที่ 5, 6 และ 7 เป็นการศึกษาฤทธิ์ของกวาวเครือขาวต่อการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ในหนูแรทโตเต็มวัยและหนูแรทแก่เพศเมีย และผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในหนูแรทเพศเมีย ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่เหมาะจะนำมาใช้ในการรักษาหรือป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ในเพศชาย เพราะมีฤทธิ์เชิง androgenic effect คล้ายฮอร์โมน testosterone สามารถลดระดับ FSH และ LH ในหนูแรทเพศผู้ แต่ไม่มีผลต่อน้ำหนักและลักษณะทางเนื้อเยื่อของอัณฑะ epididymis และ seminal vesicle และเหมาะที่จะนำไปใช้ในเพศหญิงในเชิง anti-estrogenic (หรือ androgenic) effect อย่างอ่อน เพราะกวาวเครือแดงในขนาดสูง ๆ มีผลไปเพิ่มน้ำหนักและลักษณะทางเนื้อเยื่อของมดลูกและลดระดับ LH ในขณะที่พบว่ากวาวเครือดำไม่มีฤทธิ์ androgenic effect เพราะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและลักษณะทางเนื้อเยื่อของอัณฑะ, epididymis, seminal vesicle, ระดับtestosterone, FSH และ LH ในหนูแรทเพศผู้ แต่อาจจะมีผลเชิง anti – estrogenic effect อ่อน ๆ ในหนูแรทเพศเมีย เพราะกวาวเครือแดงในขนาด 10 และ100 มก./กก./วัน มีผลไปลดระดับ FSH นอกจากนี้พบว่ากวาวเครือดำมีความเป็นพิษมากกว่ากวาวเครือแดงในขนาดที่เท่ากัน สำหรับผลของกวาวเครือขาวพบว่าเมื่อให้กวาวเครือขาวปริมาณ 25 มก./กก./วัน ซึ่งเป็นขนาดที่ใช้ในคน เป็นเวลานานถึง 200 วัน ในหนูแรทโตเต็มวัยและหนูแรทแก่เพศเมีย ไม่ก่อให้เกิดพิษวิทยาต่อตับ ไต อวัยวะสืบพันธุ์ ปริมาณเม็ดเลือด และค่าทางชีวเคมีในเลือด แต่กวาวเครือขาวในขนาดดังกล่าวสามารถยืดการเข้าสู่สภาวะ perimenopause และ postmenopause ในหนูแรทโตเต็มวัย และหนูแรทแก่เพศเมีย ตามลำดับ อย่างสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน E2, FSH และ LH และกวาวเครือขาวในขนาด 25 มก./กก./วัน ถ้าให้นาน 150 วัน ภายหลังจากให้สารก่อมะเร็งสามารถชักนำให้เกิดก้อนมะเร็งเร็วขึ้น มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนและขนาดของก้อนมะเร็งเต้านมในหนูแรทเพศเมีย แต่ถ้าหากได้รับสารก่อมะเร็งในระหว่างที่ได้รับกวาวเครือขาว นาน 240 วัน สามารถลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งเต้านม ลดจำนวนก้อนของมะเร็งเต้านมลงได้ จากผลการทดลองทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่ากวาวเครือแดงมีฤทธิ์ androgenic effect ต่อระบบสืบพันธุ์ในเพศผู้ และกวาวเครือขาวมีฤทธิ์ estrogenic effect ต่อระบบสืบพันธุ์และมะเร็งเต้านมในเพศเมีย และกวาวเครือขาวในขนาด 25 มก./กก./วัน ค่อนข้างปลอดภัยที่จะนำไปใช้ในคน ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาถึงสารออกฤทธิ์ของกวาวเครือแต่ละชนิดต่อไปในอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | Nowadays, White, Red and Black Kwao Krua become popular to use in forms of cosmetics, traditional drugs and food supplements, mostly for the sexual desire and on reproductive organs. However, there have been no scientific data reported on the optimal dose and duration to use, toxicity, side effects and their effects on reproductive organs and related hormones. In this study, 7 experiments were conducted, that is, to study 1)the subchronic effects of Red Kwao Krua (BS) in male and female mice, 2)the effects of BS on reproductive organs and related hormones in male and female rats, 3) the subchronic effects of Black Kwao Krua (MC) in male and female mice, 4)the effects of MC on reproductive organs and related hormones in male and female rats, 5)the effects of White Kwao Krua (PM) on the reproductive organs and related hormones in adult female rats, and 6)in aged female rats, and 7)the effects of PM on 7,12-DMBA-induced tumorigenesis and breast cancer in adult female rats. It was found that BS should be one of the herbal candidates used for male reproductive system, because it has androgenic effects similar to testosterone on reducing FSH and LH levels in male rats. However, it has no effects on weights and histology of epididymis and seminal vesicle. It also has a weak anti-estrogenic (or androgenic) effect in female rats by increasing uterus weights and reducing LH levels after the higher doses treatment. For MC, it has no adrogenic effect in male animals, because there were no changes in weights and histology of testis, epididymis, semial vesicle,testosterone, levels of FSH and LH. However, it has a weak estrogenic activity in females because only the high doses of MC could reduce FSH levels. Moreover, at the same doses, MC showed a higher toxicity than the BS. PM at the dose of 25 mg/kg/BW, the dose of human use, fed to adult and aged female rats for 200 days had no toxicity effects on liver, kidney, reproductive organs, blood cell counts and blood biochemical markers. However, at that dose, PM could delay the time entering to the perimenopausal and postmenopausal periods in adult and aged female rats, respectively, which were related to changes of E2, FSH and LH levels. Treatment of PM for 150 days after a single feeding of DMBA-carcinogen can potentiate the tumorigenesis, tend to increase the tumor number and tumor cross-sectional area in adult female rats. However, if the rats were fed the carcinogen on the way of PM treatment, for 240 days, PM could reduce the incidence of tumorigenesis and tumor number. Taken the above results together, it can conclude that BS has an androgenic effect on reproductive organ in males and PM has an estrogenic effect on reproductive organs and breast cancer in females. PM at the dose of 25 mg/kg/day is rather safe to use in humans. To get a better understanding, the effects of each chemical in each Kwao Krua should be studied further in the future. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 4179802 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กวาวเครือแดง -- พิษวิทยา | - |
dc.subject | กวาวเครือดำ -- พิษวิทยา | - |
dc.subject | กวาวเครือขาว -- พิษวิทยา | - |
dc.subject | หนู -- อวัยวะสืบพันธุ์ | - |
dc.subject | มะเร็งในสัตว์ | - |
dc.subject | เต้านม -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา | - |
dc.title | การทดสอบพิษวิทยาของกวาวเครือแดงและกวาวเครือดำในหนูเมาส์ และผลของกวาวเครือขาวต่ออวัยวะสืบพันธุ์และฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็งเต้านมในหนูแรทเพศเมีย : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Toxicity tests of Red Kwao Krua and Black Kwao Krua in mice and effect of White Kwao Krua on the reproductive organs and anti-breast cancer in female rats | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | suchinda.m@chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujinda_Tox.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.