Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8870
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปัญญา จารุศิริ-
dc.contributor.authorสุวิทย์ โคสุวรรณ-
dc.contributor.authorวัฒนา ตูตีจีน-
dc.contributor.authorบุรินทร์ เวชบันเทิง-
dc.contributor.authorรัศมี สุวรรณวีระกำธร-
dc.contributor.authorธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherกองธรณีวิทยา. ฝ่ายธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherกรมอุตุนิยมวิทยา. สำนักแผ่นดินไหว-
dc.contributor.otherสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-03-24T06:47:38Z-
dc.date.available2009-03-24T06:47:38Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8870-
dc.descriptionเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้อาศัยข้อมูลภาพจากดาวเทียมแลนด์เซท ทีเอ็ม 5 (1:1,000,000) 29 ภาพ ซึ่งทำการเน้นภาพด้วยฮีสโตแกรม เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดกว่าปกติทั่วไป การใช้ภาพจากดาวเทียมศึกษาวิจัยนี้เพราะมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเห็นภาพโครงสร้างธรณีวิทยาบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่ในหลายประเทศ (ไทย, พม่า, ลาว และจีนตอนใต้) ได้อย่างถูกต้องขึ้น การศึกษาครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการผนวกข้อมูลภาพจากดาวเทียมกับข้อมูลแผ่นดินไหว และข้อมูลทางธรณีวิทยาซึ่งโดยมีวิธีการวิเคราะห์เริ่มจากการแปลภาพจากดาวเทียมด้วยสายตาจนทำให้ได้แนวเส้นโครงสร้าง (limeaments) ในแต่ละภาพต่อจากนั้นนำมาต่อกันเป็นแผนที่แนวเส้นโครงสร้าง ซึ่งเมื่อกำหนดข้อมูลแผ่นดินไหวลงไปจะทำให้ทราบว่าแนวเส้นใดหรือรอยเลื่อนใดยังมีผลอยู่ ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่า แผ่นดินไหวที่เกิดอยู่บนทวีป มีความสัมพันธ์อย่างมากกับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกตลอดจนรอยเลื่อนใหญ่ๆ ทั่งที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง และสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ต้องนำภาพดาวเทียมมาเป็นข้อมูลหลักในการศึกษานี้ เนื่องจากต้องการทราบว่าแนวหรือกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังที่ปรากฏนอกประเทศจะมีแนวต่อเลยมาถึงประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด จากการศึกษาพบว่ากลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญๆ ในภูมิภาพที่ศึกษามีอยู่ 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม อินโด-พม่า, สะเกียง-ปานหลวง-ตวงกุย, นานติง-เปาชาน-เชียงราย, แดง-มา-ดา, แม่สะเรียง-แม่ปิง-เจดีย์สามองค์, อตุรดิษถ์-แพร่-หลวงพระบาง-เดียนเบียนฟู และแม่ทา-แม่ริม ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงตั้งแต่ 3 ในมาตราริกเตอร์ขึ้นไป จนถึง 7.5 ซึ่งนับว่ามีความรุนแรงตั้งแต่น้อยถึงมากพอสมควร และมี 4 กลุ่มที่มีแนวต่อเลยมาในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดแผ่นดินไหวอยู่นอกประเทศ ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 6 ถึง 7 ริกเตอร์ขึ้นไป และจากข้อมูลประวัติศาสตร์และข้อมูลอุตุนิยมวิทยาทำให้ทราบว่ายังไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ถึง 6 หรือ 7 ริกเตอร์เกิดในประเทศไทยเลย ผลการตีความภาพจากดาวเทียม และข้อมูลในแง่ธรณีแปรสัณฐานทำให้ทราบว่าบริเวณที่เปลือกโลกมีการชนกันมาก่อนและทำให้เกิดรอยเลื่อนหลายแห่ง นับได้ว่าเป็นจุดอ่อนตัวของเปลือกโลกซึ่งอาจทำให้เกิดรอยแตกลึกๆ ได้และอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเหมือนกัน อย่างไรก็ตามจากข้อมูลแผ่นดินไหวของกรมอุตุฯ ทำให้ทราบว่า บริเวณรอยต่อเหล่านี้อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรง (ถึง 7 ริกเตอร์) ในประเทศข้างเคียง เช่น พม่า เวียดนาม และจีน แต่ไม่ค่อยมีผลมากเท่าใดนักในประเทศไทย (ส่วนใหญ่ในไทยมักอยู่ในระดับอ่อน ประมาณ 3 ริกเตอร์) แผ่นดินไหวที่เกิดในปัจจุบันที่มีจุดกำเนิดในประเทศไทยเท่าที่ได้ศึกษาจากการวิจัยครั้งนี้นับได้ว่าไม่รุนแรงนัก เช่นที่เมืองกาญจนบุรี ประมาณ 5-6 ริกเตอร์ ที่หลายคนคิดว่าอาจเป็นผลมาจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลกนั้น น่าจะมาจากการกักน้ำสร้างเขื่อนบนแนวรอยเลื่อนมากกว่า ผลของการกักน้ำนี้อาจทำให้เกิดการเพิ่มความดัน (ช่องว่าง) ให้มากขึ้นจนทำให้เปลือกโลกบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวนั้นเกิดการเลื่อนตัวใหม่ได้ จนเกิดแผ่นดินไหวในที่สุด การวิจัยครั้งนี้อาจสรุปได้ว่า ลักษณะโครงสร้างใหญ่ๆ ของไทย เช่น รอยเลื่อนในภาคตะวันตกและภาคเหนืออาจมีผลหรือมีความสัมพันธ์จนมีผลทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กได้ อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้ทำให้คาดคิดว่ากลุ่มรอยเลื่อนในไทย เช่น กลุ่มรอยเลื่อนเชียงราย (แม่จัน) รอยเลื่อนอุตรดิตถ์-แพร่ และรอยเลื่อนแม่ทา-แม่ริม ในภาคเหนือ และรอยเลื่อนแม่สะเรียง-แม่ปิง-เจดีย์สามองค์ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวในปัจจุบันและน่าจะมีพลัง (active) อยู่ แต่ไม่น่าจะก่อให้เกิดการไหวตัวอย่างแรงในอนาคตเหมือนในแถบรอบข้างในประเทศไทยเรา ดังนั้นเขตพื้นที่เสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวจึงควรกำหนดให้เฉพาะทางภาคเหนือและตะวันตกเป็นเขตแผ่นดินไหวอย่างอ่อนได้ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลทางสถิติเข้าผนวกด้วย หากมีการทำรายละเอียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประวัติการเคลื่อนตัว การวางตัวของรอยเลื่อนและทิศทางการเคลื่อนตัวในอดีตจนถึงปัจจุบันสืบไปen
dc.description.abstractalternativeThe current investigation is based essentially upon the data interpretation from 29 images Landsat TM5 (sdale 1:1,000000) with histogram enhancement for the betterment of the quality of images. The prime application of the Landsat data is mainly due to the fact that the region <1 geological structure covering areas in Thailand, Lao PDR, Burma, and southern china are correctly delineated. The research is the first study that the landsat information in conjunction with earthquake data and the available geological and geotectonic data are mutually interpreted. The method of investigation commences with the analysis of the structural lineaments by visual judgement and interpretation using the enhanced satellite images, than connection of reliable lineaments (or faults) from individual and related images and production of the lineament maps form the next step. Subsequently, the available instrumental and historical earthquake data an plotted onto the limeanment maps. Then, the lineaments or faults with which the epiantral locations are closely associated, are regarded to be actives. The research result indicates that the occurrence of mainland earthquakes has a close relationship with the major geological structures including geosutures and major fault features located both in Thailand and nearly. This perhaps is one of the most important objectives of using enhanced landsat images to figure out whether the concerned active faults extend to Thailand or not. The current research also reveals that there are approximately 7 major faults zones recognized in the study region ; i.e., 1) Indo-burma zone, 2) Sagaing-Panlong-Tuang Gui zone, 3) Nanting-Pao Shan-Chiang Rai, 4) Red-Ma-Da zone, 5) Mae Sarieng-Mae Ping-Three Pagoda zone, 6) Uttaradit-Phrae-Luang Phrabang-Dien Bien Phu zone, and 7) Mae Tha-Mae Rim zone. These major fault zones directly and indirectly give rise to the occurrence of earthquakes (3 to 7 M), causing the quake intersity varying from mild to moderately violent. Among these major faults, four of them have their branches extending to and are located in Thailand, however, most earthquakes took place outside Thailand, and cause major earthquakes (6 to 7 M.) Both the historical and instrumental earthquake information point out that earthquakes bigger than 6 in Richter scale never happened in Thailand. In addition, the results, as indicated by satellite-borne image interpretation and geotectonic data, advocate that the region where the crustal plates collided to each other (such as Shan-Thai VS. Indochina at the Nan Geosuture), causing the (thrust) faults, account for the crustal weakness. As a result, deep cracks may have developed, and these may have caused earthquakes. Earthquake information gathered from TMD advocate that the geosutures can trigger the large earthquakes (~7 Richter) in the neighbouring countries, however, they became less involved in Thailand (~3 Richter). The present-day earthquakes with epicenters located in Thailand, as obtained form this current study, are regarded to create less violent phenomena. Earthquake in Kanchana-buri (5-6 Richter), which was once regarded to have occurred by the active NW-trending believed to be a result of the water impoundment in the reservoir. The water in the dam built on the fault may have triggered the increase in pore pressure and in turn caused crustal adjustment with earth tremors. This current research leads to the conclusion that major structural features in Thailand, such as faults to the west and the north, may give rise or be related, to some extent, to the small quakes. However, results from this research work reveal that several sets of faults in Thailand, particularly those of the Chiang Rai (or Mae Chan) Fault, the Uttaradit-Phrae Fault, the Mae Tha-Mae Rim Fault, in the north and those of the Mae Sariang-Mae Ping-Three Pagoda Fault, in the west and the northwestern, are regarded to be active with mild tremor intensities in comparision with those of the countries nearby. Therefore, the areas prone to earthquake risk are assigned to those of such regions and in such a way that the analysis combined with statistical data have to be undertaken in detail for the future work, such as history of movement, attitude of fault planes, direction of movement both in the past and at present, etc.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยจากกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมen
dc.format.extent18675821 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแผ่นดินไหว -- ไทยen
dc.subjectธรณีวิทยาen
dc.titleการศึกษาสาเหตุของแผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างธรณีวิทยาของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยภาพจากดาวเทียมแลนด์แซท ทีเอ็ม-5 : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์en
dc.title.alternativeStudies on causes of earthquakes in Thailand from SE Asian Geology Structures using Landsat TM-5 imagesen
dc.title.alternativeสาเหตุของแผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างธรณีวิทยาของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยภาพจากดาวเทียมแลนด์แซท ทีเอ็ม-5en
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorcpunya@chula.ac.th-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panya_stu.pdf18.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.