Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9408
Title: การประเมินการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
Other Titles: Total parenteral nutrition use evaluation at Uttaradit hospital
Authors: มนตรา มั่นสวาทะไพบูลย์
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Achara.U@Chula.ac.th
Subjects: การให้สารอาหารทางหลอดเลือด
โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อประเมินการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ในหัวข้อ ข้อบ่งใช้ การกำหนดพลังงาน การติดตาม ผลทางคลินิก รวมทั้งการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ ศึกษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนกันยายน 2544 ถึงกุมภาพันธ์ 2545 จำนวน 50 ราย จากผู้ป่วยใน 2,100 รายได้รับการรักษาด้วยสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 57 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 24 (12 ราย) เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยสาเหตุจากโรคมะเร็ง ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและระยะเวลาที่ได้รับการรักษาด้วยสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ โดยเฉลี่ย คือ 40 และ15วันตามลำดับ ผู้ป่วยร้อยละ 88 (44 ราย) ได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำตามเกณฑ์ข้อบ่งใช้ที่กำหนดขึ้น โดยผู้ป่วยร้อยละ 48 (24 ราย) ได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำในข้อบ่งชี้เนื่องจาก มีภาวะสลายรุนแรงและทางเดินอาหารไม่สามารถทำงานได้ภายใน 5 วัน ผู้ป่วยได้รับคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันในปริมาณที่เหมาะสม ร้อยละ 70 (35 ราย) ร้อยละ 48 (24 ราย) และร้อยละ 96 (48 ราย) ตามลำดับ การกำหนดพลังงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด การกำหนดพลังงานที่ผู้ป่วยได้รับ เป็นแบบประมาณการตามรูปแบบการสั่งใช้ ที่เคยปฏิบัติมา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการตรวจติดตามก่อน และระหว่างได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำตามแนวทางที่กำหนด ยกเว้น การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ผลลัพธ์ทางคลินิกวัดจากมีระดับอัลบูมินเพิ่มขึ้น ร้อยละ38 (19 ราย) ร้อยละ 18 (9 ราย) มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และร้อยละ 80 (40 ราย) สามารถกลับมาให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหารได้ พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยร้อยละ 52 (26 ราย) จำนวน 67 เหตุการณ์ โดยพบภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 41 ครั้ง จากการศึกษาพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ 50 ครั้ง เภสัชกรได้เสนอแนวทางการแก้ไขและได้รับการยอมรับ 46 ครั้ง ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการกำหนดพลังงานที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายแทนการใช้สูตรมาตรฐานเพียงอย่างเดียว กำหนดพิจารณาพารามิเตอร์เพิ่ม ในเกณฑ์การติดตามผู้ป่วย และควรประเมินการใช้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อช่วยเพิ่มความเหมาะสมในการใช้
Other Abstract: The purpose of this study was to evaluate the use of total parenteral nutrition in adult patients according to indication, energy requirement, laboratory monitoring, clinical outcomes and complications from total parenteral nutrition use. This study was performed in adult patients who received total parenteral nutrition in surgical wards at Uttaradit hospital during September 2001 to February 2002.Fifty patients from 2,100 inpatients received total parenteral nutrition therapy.The mean age of the patients was 57 years, 24% (12 cases) of patients were admitted because of cancer.The mean length of stay and duration of total parenteral nutrition therapy were 40 and 15days ,respectively. Total parenteral nutrition was prescribed with appropriated indication to 88% (44 cases).The major indications for total parenteral nutrition were catabolic patients with a temporary 5 days nonfunction gastrointestinal tract, 48% (24 cases).The patients received the appropriate amount of carbohydrate,protein and fat were 70% (35 cases), 48% (24 cases) and 96% (48 cases), respectively whereas the energy requirement guidelines was not followed.Most patients were monitored before and during received total parenteral nutrition as guidelines except for weight and height.Clinical outcomes measured by increasing of serum albumin 38% (16 cases), weight gain18% (9 cases) and 80% (40 cases) were able to return to enteral nutrition.Complications were found in 58%(26 cases) and 67 events.The most complication was hyperglycemia, 61% (41 events).There were 50 problems related to total parenteral nutrition use and 46 of pharmacist intervention were accepted. It is suggested that energy requirement for each patient should be perform instead of using only standard formulas.Considering more parameters for monitor patients and yearly evaluation of total parenteral use could increase the appropriateness of use.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9408
ISBN: 9741701152
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montra.pdf937.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.