Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9452
Title: โครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน : กรณีศึกษาเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน : รายงานฉบับสมบูรณ์
Authors: ประโยชน์ เจริญสุข
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
Subjects: เกษตรกร -- ไทย (ภาคเหนือ)
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าเสรีและการคุ้มครอง
สินค้าเกษตร
ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- จีน
จีน -- การค้ากับต่างประเทศ -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบต่อเกษตรกรในโครงการหลวง อันสืบเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางการค้าพืชผักและผลไม้ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยการออกสำรวจภาคสนามด้วยแบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์บุคคล ที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยศึกษาครอบคลุมเรื่องต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรตัวอย่าง สภาวะการนำเข้าผักและผลไม้จากประเทศจีน ผลกระทบที่เกษตรกรประสบและการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง ฯลฯ ผลการศึกษาพบว่า ประชากรในพื้นที่โครงการหลวงเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ เช่น กะเหรียง จีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอแดง มูเซอดำ ม้ง เย้า ลีซอ อีก้อ ละว้า ลัวะ ไทยลื้อ คะฉิ่น อาข่า ลาหู่ อาเข่อ และคนพื้นเมือง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ และบางส่วนนับถือผี ประชากรชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประชากรเหล่านี้มีทั้งเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการหลวงและไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ประชากรส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ขนาดถือครองน้อยกว่า 10ไร่ต่อครัวเรือน รายได้ของประชากรชาวไทยภูเขาที่เป็นตัวอย่างเฉลี่ยอยู่ระหว่างครอบครัวละ 20,000-60,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และพบว่าผู้ตอบคำถามประมาณ 1 ใน 3 มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งผู้ตอบคำถามแก้ปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายโดยการประหยัด อดออม หารายได้เสริม และวิธีอื่นๆ รวมถึงการขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และผู้อื่น ผู้กู้สามารถใช้คืนเงินกู้ได้ตามสัญญาเกินกว่าร้อยละ 80 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำ FTA ไทย-จีน ของเกษตรนั้น พบว่าประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้นที่ทราบว่าไทยกับจีนมีการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน ในขณะที่ส่วนใหญ่อีก 2 ใน 3 ไม่ทราบว่ามีการทำข้อตกลง และผู้ที่ตอบว่า “ทราบ” นั้น ประมาณ 3 ใน 4 เชื่อว่าการทำ FTA ไทย-จีน นั้นจะทำให้ผลผลิตของตนขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าเดิม ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้รายได้ของตนเองลดลงไปด้วย ต่อการแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากผลกระทบ FTA ไทย-จีนนั้น เกษตรกรให้ความเห็นที่หลากหลาย โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ตรงกับสินค้าจากจีน ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ทำอาชีพเสริม รวมถึงขอความช่วยเหลือจากโครงการหลวงโดยอยากให้โครงการหลวงประกันราคาผลผลิต ให้โครงการหลวงรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรทั้งหมดทั้งที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ รวมถึงให้มูลนิธิเลือกและหาพืชชนิดใหม่ที่มีราคาดีมาให้เกษตรกรปลูกจำหน่าย และมีกองทุนสนับสนุนเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต นอกจากนี้ผู้ตอบสัมภาษณ์อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยการลดการนำเข้าสินค้าพืชผักผลไม้จากจีน ให้รัฐบาลประกันราคาผลผลิต หาตลาดและกระจายสินค้าสู่ต่างประเทศให้มากขึ้น และข้อเสนออื่นๆ รวมถึงเสนอว่าควรยกเลิกการค้าแบบ FTA ไทย-จีนถ้าเป็นไปได้ ส่วนการช่วยเหลือตนเองของเกษตรกรในการแก้ปัญหาหรือหาทางออกเพื่อให้ผลผลิตของตนขายได้ในราคาที่ “ดีขึ้นกว่าเดิม” นั้น เกษตรกรผู้ตอบสัมภาษณ์มากกว่าร้อยละ 60 มีความมุ่งมั่นว่าจะต้อง “เพิ่ม” คุณภาพผลผลิตของตนเอง นั่นหมายความว่าเกษตรกรทราบเป็นอย่างดีว่าหากผลผลิตมีคุณภาพดีแล้วราคาก็จะสูงขึ้นไปด้วย แสดงว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ย่อท้อต่อการแก้ปัญหาซึ่งอาจจะส่งผลกระทบมาสู่ตนเองและพร้อมที่จะดำเนินการต่อสู้ปัญหานั้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การเปิดเสรีการค้าไทย-จีน มีผลทำให้พืชผักและผลไม้จากจีนเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้น และมีราคาถูกกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ปลูกได้ในประเทศไทย ซึ่งอาจแย่งตลาดสินค้าจากผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโครงการหลวงได้ แต่ความกังวลนี้ยังไม่อาจจะสรุปและ/หรือยืนยันอย่างชัดเจนได้ว่าเป็นเช่นนั้น เพราะข้อมูลเชิงประจักษ์จากมูลนิธิโครงการหลวงพบว่า ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิโครงการหลวงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ถึงแม่ว่าไทยกับจีนจะเปิดการค้าระหว่างกันมาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 แล้วก็ตาม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่เชื่อถือและไว้ใจของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี “คุณภาพ” สูง สด สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ถึงแม้ว่าราคาสินค้าประเภทเดียวกันนี้จะสูงกว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจากจีนก็ตาม ทำให้มีลูกค้าประจำเฉพาะกลุ่มและลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่โครงการหลวง พบว่า การที่มูลนิธิโครงการหลวงสามารถตั้งรับสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดีนั้น เป็นเพราะวิสัยทัศน์และความสามารถ ความร่วมมือ และการทุ่มเทของเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ทุ่มเทและเอาใจใส่ต่อการพัฒนาของมูลนิธิอย่างจริงจังตลอดมานั่นเอง ซึ่งผลที่ได้รับกลับคืนมูลนิธิโครงการหลวงและชาวไทยภูเขานั้นเป็น “กำไรที่มากกว่ากำไร”
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9452
Type: Technical Report
Appears in Collections:Social Research - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prayod_Charoen.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.