Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9563
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์-
dc.contributor.authorชลิต ประทุมศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-04T03:27:03Z-
dc.date.available2009-08-04T03:27:03Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745619701-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9563-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกโดยการใช้เครื่องลากถ่วงน้ำหนักที่มีต่อความเร็วในการวิ่ง 100 เมตร กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชายอาสาสมัครชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ จำนวน 32 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรออกเป็น 4 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มมีค่าเฉลี่ยของเวลาการวิ่ง 100 เมตร ก่อนฝึกใกล้เคียงกันมากที่สุด ทุกกลุ่มทำการฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกชุดเดียวกัน ต่างกันที่น้ำหนักถ่วงในการลากเครื่องถ่วงน้ำหนักคือ กลุ่มที่ 1 ฝึกโดยไม่ต้องลากเครื่องถ่วงน้ำหนัก กลุ่มที่2, 3 และ 4 ฝึกโดยการลากเครื่องถ่วงน้ำหนักร้อยละ 5, 10 และ 15 ของน้ำหนักร่างกายตามลำดับ ทุกกลุ่มทำการฝึกสัปดาห์ละ 3 วันคือ วันจันทร์ พุธ และศุกร์ ระหว่างเวลา 16.00-18.00 น. รวมระยะเวลาในการฝึกซ้อมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบเวลาการวิ่ง 100 เมตร หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 6 ทุกวันเสาร์ของทุก ๆ 2 สัปดาห์ การทดสอบกระทำ 2 ครั้ง ถือเอาครั้งที่วิ่งได้เวลาดีที่สุดบันทึกผลไว้เป็นสถิติ นำผลการทดสอบเวลาในการวิ่ง 100 เมตร ของทั้ง 4 กลุ่ม ที่เก็บรวบรวมได้ทั้งก่อนฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 6 มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยปรากฎว่า 1. ความสามารถในการวิ่ง 100 เมตร ของทั้ง 4 กลุ่ม หลังการฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความสามารถในการวิ่ง 100 เมตร ของทั้ง 4 กลุ่ม ก่อนฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 6 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of tow training on the 100-meter dash. Forty male students of matayomsuksa 5, Pracharadupathum School were randomly selected as the samples. Prior to the experiment, the samples were divided into four groups of equal running ability, based on the means of the 100-meter dash. Each group in the same program of training. The tow between training for each group were as follow :-The first group, non-tow training as a control group ; the second group, the third group and the fourth group had their tow training were at 5%, 10% and 15% of body weight. The training was conducted three days a week, Monday, Wednesday and Friday from 4.00 to 6.00 pm., for six weeks. The 100-meter sprint was tested on Saturday of the second, the fourth, and the sixth week. The data were then analyzed according to appropriate statistical methods. It was found that :-1. The 100 meter-dash means of the four groups after six weeks training were no significant difference at the level of 0.01. 2. The 100 meter-dash means pre-training, after training for 2, 4 and 6 weeks of the four groups were no significant difference at the level of 0.01.en
dc.format.extent5979947 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสมรรถภาพทางกายen
dc.subjectการวิ่งen
dc.subjectเครื่องลากถ่วงน้ำหนักen
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อen
dc.titleผลการฝึกโดยการใช้เครื่องลากถ่วงน้ำหนักที่มีต่อความเร็วในการวิ่ง 100 เมตรen
dc.title.alternativeEffects of tow training on the 100 meter dashen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrapat.L@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalit.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.