Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9695
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิษเณศ เจษฏาฉัตร-
dc.contributor.authorปนัดดา บุญชัด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-05T11:40:03Z-
dc.date.available2009-08-05T11:40:03Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741705697-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9695-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท จากการรับรู้ของบัณฑิต และเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ รวมทั้งเพื่อศึกษาอิทธิพลของอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท ของบัณฑิตเศรษฐศาสตร์และบัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจบการศึกษาในปีการศึกษา 2543 อัตราผลตอบแทนจากการรับรู้ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คำนวณโดย Elaborate Method และ Short-cut Method หลังจากนั้นจึงนำอัตราผลตอบแทนที่ได้ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ อายุ เพศ เกรดเฉลี่ย ลักษณะงานและประเภทของหน่วยงานที่สนใจ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว จำนวนพี่น้อง ลำดับที่พี่น้อง และแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการศึกษา มาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้โดย Elaborate Method พบว่า เมื่อพิจารณาจากบัณฑิตทั้ง 2 คณะรวมกัน อัตราผลตอบแทนจากการรับรู้เท่ากับ 25.91% แต่เมื่อพิจารณาแยกคณะพบว่า บัณฑิตเศรษฐศาสตร์มีอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้เท่ากับ 21.83% และบัณฑิตอักษรศาสตร์มีอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้เท่ากับ 27.69% และเมื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการรับรู้โดย Short-cut Method พบว่ามีค่าเท่ากับ 21.13%, 24.90% และ 19.48% ตามลำดับ ผลจากการศึกษาแบบจำลองโลจิต (Logit Model) พบว่า อัตราผลตอบแทนที่คำนวณทั้ง 2 วิธี ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของบัณฑิตเศรษฐศาสตร์และบัณฑิตอักษรศาสตร์ ไม่ว่าจะพิจารณาบัณฑิตทั้ง 2 คณะรวมกันหรือพิจารณาแยกคณะก็ตาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของบัณฑิตทั้ง 2 คณะรวมกัน ได้แก่ อายุ เกรดเฉลี่ย ลักษณะและประเภทของงานเอกชน ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว จำนวนพี่น้อง ลำดับที่พี่น้อง และแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการศึกษา ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อแยกคณะพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของบัณฑิตอักษรศาสตร์ ได้แก่ อายุ เกรดเฉลี่ย ลักษณะและประเภทของงานเอกชน ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว จำนวนพี่น้อง ลำดับที่พี่น้อง และแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการศึกษา ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ และจากการทดสอบความแตกต่างในการตัดสินใจศึกษาต่อระหว่างบัณฑิตเศรษฐศาสตร์และบัณฑิตอักษรศาสตร์พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen
dc.description.abstractalternativeTo study the perceived cost and return by graduates; to calculate the perceived rate of return; and to study the effect of the perceived rate of return and other factors affecting decision to pursue graduate study. Samples are graduates from Faculty of Economics and Faculty of Arts, Chulalongkorn University. The calculation of perceived rate of return is based on the elaborate method and the short-cut method. The logit model is applied to study factors affacting decision to pursue graduate study. The independent variables are perceived rate of return, age, gender, GPA, occupational interest, Socio-Economic Status (SES), number of brother and sister, order of birth, and source of fund. The perceived rates of return of overall graduates, economics graduates, and arts graduates from elaborate method are 25.91%, 21.83%, and 27.69% respectively. While the perceived rates of return from short-cut method are 21.13%, 24.90%, and 19.48% respectively. The finding indicates that factors affecting decision to pursue graduate study of the overall graduates are age, GPA, occupational interest in private sector, SES, number of brother and sister, order of birth, and source of fund. For the economics graduates, SES is the only one factor significantly influencing the pursue of their graduate study. For the arts graduates, the determinants of pursueing graduate study are age, GPA, occupational interest in private sector, SES, number of brother and sister, order of birth, and source of fund. However, the decision to pursue graduate study of economics graduates and arts graduates is not statistically different.en
dc.format.extent7866213 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.133-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษา -- แง่เศรษฐกิจen
dc.subjectอัตราผลตอบแทนen
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- แง่เศรษฐกิจen
dc.subjectการรับรู้en
dc.titleอัตราผลตอบแทนในการลงทุนทางการศึกษาจากการรับรู้ ของบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการตัดสินใจเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาen
dc.title.alternativePerceived rate of return on education by Chulalongkorn University graduates and their decision to pursue the graduate studyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPhitsanes.J@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.133-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panutda.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.