Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9800
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | - |
dc.contributor.advisor | ไพรัช ดีสุดจิต | - |
dc.contributor.author | ศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-07T06:29:01Z | - |
dc.date.available | 2009-08-07T06:29:01Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741706871 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9800 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาและวิเคราะห์ว่าจะสามารถนำกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง มาปรับใช้ในการวินิจฉัยลงโทษผู้ที่กระทำการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงไปยังบุคคลอื่นได้หรือไม่เพียงใด และการบัญญัติความผิดอาญาฐานกระทำการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจะมีความเหมาะสมหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายในประมวลกฎหมายอาญา ที่นำมาปรับใช้ในการวินิจฉัยลงโทษผู้กระทำการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะโรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี และโรคซิฟิลิสมีอุปสรรคในการนำมาบังคับใช้ในการวินิจฉัยความรับผิด เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่ต้องการผลของการกระทำ แต่กรณีการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงย่อมอาศัยระยะเวลาในการฟักตัว ช่วงหนึ่งจึงจะปรากฏอาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและร่างกาย ของผู้กระทำอันเป็นเหตุให้ไม่อาจดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการแพร่เชื้อโรค และในบางกรณีผู้ติดเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงที่ได้กระการแพร่เชื้อโรคไป อาจถึงแก่ความตายก่อนหรือในระหว่างดำเนินคดีอาญา ซึ่งส่งผลให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม หลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศในหลายประเทศแล้วพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย มีการบัญญัติฐานความผิดทางอาญาเกี่ยวกับ การแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งกำหนดให้เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผลของการกระทำ กล่าวคือ เมื่อมีการลงมือกระทำการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรง ผู้กระทำการแพร่เชื้อโรคมีความผิดปกติทันที เช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการพิสูจน์ความสัมพันธ์ ระหว่างการกระทบและผล ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการนำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ในประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้ โดยเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย อันได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 กล่าวคือ เสนอให้มีการบัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายอาญา โดยกำหนดให้เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผลของการกระทำ และกำหนดคำนิยายของคำว่า "โรคติดต่อร้ายแรง" ให้หมายความถึงโรคติดต่อร้ายแรงที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม และไม่หมายความรวมถึงโรคแอนแทร็กซ์ด้วย นอกจากนี้ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โดยกำหนดคำนิยามคำว่า "โรคติดต่อร้ายแรง"ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติประมวลกฏหมายอาญาที่ได้เสนอมาในข้างต้นซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวจะทำให้สามารถนำกฏหมายอาญามาวินิจฉัยลงโทษผู้กระทำการแพร่เชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจักส่งผลให้เป็นการยับยั้งการกระทำการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงได้อีกทางหนึ่ง | en |
dc.description.abstractalternative | To study and analyze whether, and to what extant pertinent criminal laws can be amended to convict offenders who transmit serious contagious diseases to others and whetherer it is suitable to take into consideration the transmission of serious contagious as criminal offences. The study found there are many obstacles to enforce criminal liabitity in the Penal Code relatable to offences against life and body. The code has been adapted for use in convicting offenders who transmit serious contagious diseases, especially AIDS, Hepatitis B, C and Syphikis. This is because the offence against life and body in the Penal Code requires the causation, but in the case of the transmission of serious contagious diseases, the results of action are not immediately visible because the diseases need period of times to incubate, causing some difficulty in charging and prosecuting the person who transmit the diseases even in the attempts to commit a crime, and in some cases that person may die before, or during the trial, thus the rights to institute prosecution is, according to the Criminal Procedure Code extinguished by the death of the offender. Results from a comparative study of the laws in various foreign countries showed that criminal laws in the United States and Australia have enacted specific provisions for the transmission of serious contagious diseases, considering it a crime that does not need results from the action. That is, once the transmission of the disease has commenced, the offender is instantly guilty of a crime. This method solves the problem in proving the causation. For this reason, this thesis is suggesting an amendment of the Penal Code and the Contagious Diseases Act, B.E. 2523. It suggests that the transmission of serious contagious diseases should be regarded as an offence which need no results of the action. It also suggests that the definition of 'serious contagious diseases' means the serious contagious diseases as specified in the amended Contagious Disease Act B.E. 2523, including Anthrax. Furthermore, the study also suggests that the Contagious Diseases Act, B.E. 2523 should be amended and defined the dfinition of 'serious contagious diseases' in line whith the amended Penal Code. The aforementioned amendment will make it possible to enforce criminal laws against offenders transmitting contagious diseases to others, and to deterrent the transmission of such diseases effectively | en |
dc.format.extent | 1073289 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความรับผิดทางอาญา | en |
dc.subject | ความผิดทางอาญา | en |
dc.subject | กฎหมายอาญา | en |
dc.subject | โรคติดต่อ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en |
dc.title | ความรับผิดทางอาญาในการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง | en |
dc.title.alternative | Criminal liability with spreading serious contagious dideases to persons | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriporn.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.