Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9955
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ ภาวะผู้นำทางความคิด กับการยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการ ของหน่วยงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป
Other Titles: Relationships between personal factors, perceived characteristics of innovative quality development, opinion leadership, and acceptance of nursing units innovative quality development of head nurses, general hospitals
Authors: รุ่งฤดี พันธุ์ประเสริฐ
Advisors: ประนอม รอดคำดี
ยุพิน อังสุโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Yupin.A@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
การยอมรับนวัตกรรม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและระดับการศึกษา การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ ภาวะผู้นำทางความคิด และการยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและระดับการศึกษา ระดับการรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ ภาวะผู้นำทางความคิด กับการยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงาน และสร้างสมการพยากรณ์การยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 255 คน ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากโรงพยาบาลทั่วไป ที่ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล จำนวน 56 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ ภาวะผู้นำทางความคิด และการยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .92 .84 และ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ การยอมรับนวัตกรรมการพัฒนา คุณภาพบริการของหน่วยงานอยู่ในระดับมาก และมีภาวะผู้นำทางความคิดอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการ ของหน่วยงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ระดับการศึกษา การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ และภาวะผู้นำทางความคิด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .15 .51 และ .63 ตามลำดับ) 3. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาปริญญาโท การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ ด้านการเข้ากันได้ ภาวะผู้นำทางความคิด ด้านการเข้าถึงผู้อื่นได้ง่ายและด้านมีความสร้างสรรค์ สามารถร่วมกันพยากรณ์การยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงาน ของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้ 51% (R[superscript 2] = .510) สมการพยากรณ์การยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงาน ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ การยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงาน = .09 ระดับการศึกษาปริญญาโท + .30 การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพด้านการเข้ากันได้ + .32 ภาวะผู้นำทางความคิดด้านการเข้าถึงผู้อื่นได้ง่าย + .26 ภาวะผู้นำทางความคิดด้านมีความสร้างสรรค์
Other Abstract: To study personal factors, perceived characteristics of innovative quality development, opinion leadership, and acceptance of nursing units' innovative quality development, to determine the relationship between personal factors, perceived characteristics of innovative quality development, opinion leadership, and acceptance of nursing units innovative quality development, and to build the prediction equation of acceptance of nursing units' innovative quality development of head nurses in general hospitals under the Jurisdiction of the Ministry of Public Health. The subjects consisted of 255 head nurses randomly selected through multi-stage sampling technique from 56 general hospitals seeking hospital accreditation. The instruments were the assessment questionnaires to elicit personal factors, perceived characteristics of innovative quality development, opinion leadership, and acceptance of nursing units' innovative quality development of head nurses. The questionnaires were obtained the content validity and had the Cronbach's alpha coefficients of .92 .84 and .96, respectively. The data were analysed by using percentage, mean, standard deviation, contingency coefficient, chi-square, Pearsonʼs product moment correlation coefficient, and multiple regression. The findings were as follows 1. Head nurses had the acceptance of nursing units' innovative quality development, the perceived characteristics of innovative development at the high level, and the opinion leadership at the moderate level. 2. Age was not significantly correlated with acceptance of nursing units' innovative quality development of head nurses. Educational level, perceived characteristics of innovative quality development, and opinion leadership were significantly positively correlated with acceptance of nursing units' innovative quality development of head nurses, at the level of .05 (r=.15 .51 and .63 respectively). 3. Factors has significantly predicted acceptance of nursing units' innovative quality development of head nurses at the level of .05 were educational level, characteristics of innovative development in the aspect of compatibility, and opinion leadership in the aspect of accessibility and innovativeness for 51% (R[superscript 2] = .510) of the varience. The standard score prediction equation was stated as follows: Acceptance of nursing units' innovative quality development of head nurses = .09 Master education + .30 Perceived characteristics of innovative quality development in the compatibility + .32 Opinion leadership in the aspect of accessibility + .26 Opinion leadership in the aspect of innovativeness.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9955
ISBN: 9741732465
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungruedee.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.