Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/99
Title: การกระจายความเค้นภายหลังการดึงฟันหน้าด้วยเครื่องมือเอดจ์ไวส์ทางด้านใกล้ริมฝีปาก และทางด้านใกล้ลิ้น
Other Titles: Stress distributions following anterior retraction with edgewise labial and lingual appliances
Authors: วลีรัชฎ์ บุญโสธรสถิตย์, 2514-
Advisors: สมรตรี วิถีพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Smorntree.V@Chula.ac.th
Subjects: ทันตกรรมจัดฟัน
ความเครียดและความเค้น
คลองรากฟัน
ฟันกราม
โฟโตอิลาสติก
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบการกระจายความเค้นบริเวณรากฟันหน้า และฟันกรามซี่ที่หนึ่งในขากรรไกรบน จากการดึงฟันหน้า ด้วยลวดทีลูปคอนแทรกชันอาร์ช ร่วมกับเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นทางด้านใกล้ริมฝีปากและทางด้านใกล้ลิ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นลวดทีลูปคอนแทรกชันอาร์ชที่ใช้กับเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นทางด้านใกล้ริมฝีปาก และลวดทีลูปคอนแทรกชันอาร์ชที่ใช้กับเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นทางด้านใกล้ลิ้น การกระจายความเค้นศึกษาโดยวิธีโฟโตอีลาสติกกึ่งสามมิติ ในแบบจำลองฟันของขากรรไกรบน ซึ่งถอนฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งไป ประกอบด้วยฟันตัดซี่กลาง ฟันตัดซี่ข้าง ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยซี่ที่สอง ทั้งซ้ายและขวา ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ฟันกรามแท้ซี่ที่สองข้างขวา ผลการวิจัยสรุปว่า เมื่อใช้แรงดึงฟันหน้าขนาดเท่ากัน เครื่องมือจัดฟันทั้งสองชนิดทำให้เกิดการกระจายความเค้นแตกต่างกัน บริเวณฟันหน้าเครื่องมือเอดจ์ไวส์ทางด้านใกล้ริมฝีปากทำให้เกิดแรงดึงที่ชัดเจนมากกว่าเครื่องมือเอดจ์ไวส์ทางด้านใกล้ลิ้น และทำให้ฟันหน้าเคลื่อนที่เกือบเป็นแบบบอดิลี ในขณะที่เครื่องมือเอดจ์ไวส์ทางด้านใกล้ลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบทิปปิงโดยตัวฟันเคลื่อนไปทางด้านไกลกลางและรากฟันเคลื่อนไปทางด้านใกล้กลาง และไม่พบแรงดึงที่ชัดเจน ลักษณะดังกล่าวเริ่มปรากฏเมื่อให้แรงดึงฟันตั้งแต่ 100 กรัม เครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นทางด้านใกล้ริมฝีปากทำให้ฟันหน้าเคลื่อนที่แบบทิปปิงไปทางด้านไกลกลาง รวมทั้งเกิดแรงดึงที่ชัดเจน ส่วนเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นทางด้านใกล้ลิ้นทำให้ฟันหน้าเคลื่อนที่แบบทิปปิงบริเวณฟันกรามพบว่า เครื่องมือจัดฟันทางด้านใกล้ริมฝีปากทำให้เกิดการกระจายความเค้นได้ไม่ดีเท่าเครื่องมือจัดฟันทางด้านใกล้ลิ้น โดยทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบทิปปิงของตัวฟันไปทางด้านใกล้กลางและรากฟันไปทางด้านไกลกลาง และมีแรงกดในแนวดิ่ง ในขณะที่เครื่องมือจัดฟันทางด้านใกล้ลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนฟันที่เข้าใกล้ความเป็นบอดิลีมากกว่า และไม่พบแรงกดในแนวดิ่งที่ชัดเจน การเคลื่อนที่แบบทิปปิงด้วยเครื่องมือทั้งสองเกิดขึ้นตั้งแต่ที่ขนาดแรง 100 กรัม
Other Abstract: The purpose of this study was to compare stress distributions at the root surfaces of maxillary anterior and first molar teeth from anterior retraction force applied by T-loop contraction archwire with edgewise labial and lingual appliances. The samples composed of T-loop contraction archwire used with edgewise labial appliances and T-loop contraction archwire used with edgewise lingual appliances. Stess distributions produced by the two appliances were studied by quasi 3-D photoelastic technic on a birefringent model of maxillary arch where the first premolars were extracted. The model composed of central incisors, lateral incisors, canines, second premolars, first molar and second molar. The result indicated that at the same retraction force levels, the two appliances created different patterns of stress distributions. At the anterior teeth, edgewise labial appliances produced almost bodily tooth movement with extrusion. Meanwhile, lingual appliances caused tipping movement-distal crown tipping and mesial root tipping without remarkable extrusion force. These phenomena appeared at 100 gram force level and over. At first molar, labial appliances produced less favorable result with mesial crown tipping , distal root tipping and extrusive force. Edgewise lingual appliances produced almost bodily tooth movement without remarkable intrusion force. Tipping movements by both appliances appeared at 100 gram force level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/99
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.25
ISBN: 9741700075
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.25
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waleerach.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.