DSpace Repository

การเบี่ยงเบนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงดุลยภาพ : การใช้แนวคิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจมหภาค

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรกมล มานะกิจ
dc.contributor.author สุโชติ เปี่ยมชล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2009-08-13T08:01:53Z
dc.date.available 2009-08-13T08:01:53Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741703961
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10013
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract มักเป็นที่กล่าวกันว่า สาเหตุหนึ่งของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินในปี 2540 ของประเทศไทยนั้น เกิดจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง (overvaluation) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงดุลยภาพ และการเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี 2527-2543 คือ ตั้งแต่ช่วงที่ได้เริ่มใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบอิงกับตะกร้าเงินเรื่อยมา จนถึงช่วงหลังจากเกิดวิกฤติ โดยการใช้แนวคิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจมหภาค ผลการทดสอบ cointegration และการประมาณหาค่าความสัมพันธ์ดุลภาพระยะยาวของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง กับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ พบว่า ระดับการเปิดประเทศ สัดส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ และเงินทุนไหลเข้าสุทธิ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ขณะที่อัตราการค้าและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม การศึกษานี้พบว่า จากการที่ประเทศไทยได้เปิดเสรีทางการเงิน ได้ทำให้ค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ซึ่งนิยามว่าเป็นราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้า nontradables ต่อสินค้า tradables ได้มีค่าแข็งขึ้นมาโดยตลอด ทำให้เมื่อเทียบกับค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงดุลยภาพ ที่ได้จากการประมาณการจากแบบจำลองแล้ว พบว่ามีค่าสูงกว่าระดับดุลยภาพประมาณ 4.4% ต่อปี การเบี่ยงเบนที่สูงและเรื้อรังนี้ ได้กลายเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการโจมตีค่าเงิน จนต้องเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุด en
dc.description.abstractalternative It is widely recognized that one of the causes of Thailand's economic and financial crisis in 1997 is the real exchange rate overvaluation. Thus, this thesis aims at finding the equilibrium real exchange rate and its misalignment during the period of the basket of currencies to the post crisis, 1984-2000, by using the macroeconomic balance approach. The result from the cointegration test and the estimation of long-run equilibrium relationship between real exchange rate and various economic fundamentals indicate that degree of openness, share of government spending and net capital inflow have positive relationship with real exchange rate; whereas, terms of trade and real interest rate have negative relationship with real exchange rate. In sum, Thailand had carried out the financial liberalization in the early 1990s, which obviously led real exchange rate to continually appreciate. Compared with the equilibrium level estimated from the model, the real exchange rate was apparently misaligned or overvalued, on average about 4.4% per year. This severe and chronic misalignment resulted in a large deficit in current account, which was one of the factors that led to speculative attacks and economic crisis thereafter. Consequently, there were a collapse of fixed exchange rate system and an establishment of managed floating exchange rate system en
dc.format.extent 2140308 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.522
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อัตราแลกเปลี่ยน -- ไทย en
dc.subject การเงินระหว่างประเทศ en
dc.subject ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2527-2543 en
dc.title การเบี่ยงเบนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงดุลยภาพ : การใช้แนวคิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจมหภาค en
dc.title.alternative Equilibrium real exchange rate misalignment : macroeconomic balance apporach en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Pornkamol.M@Chula.ac.th  
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2001.522


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record