Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ใช้ข้อมูลการซื้อและขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์ แหล่งประเทศไทยแบบรายเดือน ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2544 เพื่อทำการศึกษาถึงปริมาณ ความสัมพันธ์ และผลกระทบของนักลงทุนต่างประเทศที่มีต่อผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย โดยทดสอบสมมติฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ประกอบด้วยสมมติฐาน Base-broadening สมมติฐาน Price Pressure สมมติฐาน Omitted Variables และทดสอบสมมติฐาน Positive Feedback เพื่อทดสอบกลยุทธ์การลงทุนของนักลงทุนต่งประเทศ ในส่วนของการศึกษาถึงผลกระทบของการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ พบว่า การลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ มีผลต่อผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในทิศทางบวก ซึ่งผลที่ได้สนับสนุนสมมติฐาน Base-broadening การซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศ ไม่ได้ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นหรืออย่างชั่วคราวของผลตอบแทน อันเนื่องมาจากการที่สภาพคล่องของหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงอย่างชั่วคราว และพบว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีผลต่อผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัย สำคัญ นอกจากนี้จากการทดสอบในเรื่องกลยุทธ์การลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ พบว่า นักลงทุนต่างประเทศใชกลยุทธ์การลงทุนแบบตามตลาด (Positive Feedback Trading) สำหรับการลงทุนระยะยาว ซึ่งเป็นการซื้อหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงในอดีตและขายหลักทรัพย์ที่มีผล ตอบแทนต่ำในอดีต และใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบสวนตลาด (Negative Feedback Trading) สำหรับการลงทุนระยะสั้น อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาถึงยอดการลงทุนสุทธิในระดับเดือนแล้ว พบว่านักลงทุนต่างประเทศลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยใช้กลยุทธ์ การลงทุนแบบตามตลาด