DSpace Repository

การฟอกเงิน : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author ชัยรัตน์ ศักดิ์โกศล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-13T12:00:58Z
dc.date.available 2009-08-13T12:00:58Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740317081
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10053
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ อาชญากรรมได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบการกระทำภายในประเทศโดยคนร้ายเพียงลำพังไปสู่การดำเนินการในลักษณะข้ามชาติโดยองค์กรอาชญากรรม ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายให้ได้มาซึ่งกำไรหรือรายได้เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจข้ามชาติโดยทั่วไป ซึ่งรายได้จากการประกอบอาชญากรรมหรือเงินสกปรกเหล่านี้หากถูกนำเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศ จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ของประเทศในวงกว้าง ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่จะกำจัดเงินสกปรกหรืออย่างน้อยที่สุดป้องกันการนำเงินสกปรกมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจผิดกฎหมายหรือดำเนินกิจกรรมอื่นๆ แนวคิดดังกล่าวเป็นหลักการของกฎหมายฟอกเงินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามอาชญากรรม โดยที่ประชาคมโลกตระหนักถึงภัยคุกคามจากองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและการฟอกเงิน รวมถึงความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จึงร่วมกันคิดค้นมาตรการพิเศษในการป้องกันและปราบปราม โดยจัดทำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ค.ศ. 2000 ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวและมีพันธะที่จะต้องปรับแก้กฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญา จึงมีปัญหาว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายฟอกเงินโดยตรงของไทยเพียงพอที่จะรองรับตามพันธกรณีตามอนุสัญญาหรือไม่ อย่างไร ผลการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องดังกล่าว พบว่ามาตรการตามกฎหมายฟอกเงินของไทยส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาแต่มีเพียงบางส่วนที่แตกต่างกันหรือยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องกรอบการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่จำกัดเฉพาะความผิดมูลฐาน 7 ประเภท ขณะที่อนุสัญญาบัญญัติให้รัฐภาคีต้องขยายกรอบการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินให้ครอบคลุมถึงความผิดตามอนุสัญญา ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ว่า "(8) ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ..." เพื่อให้กรอบการบังคับใช้กว้างขึ้นและสอดรับกับอนุสัญญา อนึ่ง มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมย่อมส่งผลให้เงินสกปรกหายไปจากระบบการเงินของประเทศและการหมุนเวียนของกระแสเงินย่อมเป็นไปอย่างถูกต้องตามกลไกเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพ en
dc.description.abstractalternative Under the globalization, the crime formation has changed and developed from acting within a country by a single criminal into proceeding by a transnational organized crime under the profit objective same as other general transnational businesses. A lot of proceeds of crime or dirty money has affected to the country's economic, social and political systems broadly when it enters to the financial system; so that, law measures should eradicate this dirty money or at least protect the utilization from the dirty money in carrying out unlawful businesses or other activities. This mentioned idea is the principle of money laundering law as a part of the law measure in criminal suppressing. The world community has realized the threat from transnational organized crime and money laundering, including the difficult for government officers to force laws efficiently for transnational organized crime, then enacted jointly the United Nations convention against transnational organized crime 2000 which Thailand has signed in this convention already under the responsibility to adapt our laws being consistent with this convention. Therefore, the question is whether or how the money laundering control act B.E. 2542 is enough to support as a conventional obligation. The result indicates that most of Thailand law measures concerning with money laundering is consistent with this convention but some is different or unclear especially 7 category fundamental penalty as the money laundering control act B.E. 2542 less than as this convention. Thus to extent the scope of law application and be consistent with this convention, the money laundering control act B.E. 2542 with article 3 should be added that "(8) the penalty as enacted inthe law protecting and combating against transnational organized crime ........" However, the suitable law measures can disappear dirty money from the country's financial system and the circulation of financial flow will proceed accurately as economic cycle and be stable. en
dc.format.extent 2099948 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ en
dc.title การฟอกเงิน : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ en
dc.title.alternative Money laundering : a case comparing between the Thai laws and United Nations convention against transnational organized crime en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record