DSpace Repository

ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor นันทิกา ทวิชาชาติ
dc.contributor.author ภาพันธ์ เจริญสวรรค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-14T11:49:06Z
dc.date.available 2009-08-14T11:49:06Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741742541
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10110
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความวิตกกังวลและความซึมเศร้า (Hospital anxiety and depression ฉบับภาษาไทย), แบบสอบถามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL index), แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ส่วนที่ II (The Personal Resource Questionaires PRQ part II) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัยพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 38.8 ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้ามี 4 ปัจจัย คือ อายุที่มากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.05 ระยะเวลาที่ป่วยมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.05 ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.001และแรงสนับสนุนทางสังคมในทุกด้านต่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.001 เมื่อทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ปัจจัยพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าได้แก่ระยะเวลาที่ป่วยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่ลดลงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 และแรงสนับสนุนทางสังคมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to examine the prevalence of depression and associated factors of 85 stroke patients who come to attend physical rehabilitation programs at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The instruments used comprised of demographic data, Thai version of Hospital Anxiety and Depession scale, The Barthel ADL index, The Personal Resource Questionaires : PRQ Part II. The data were analyzed for descriptive statistic : percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Stepwise multiple regression analysis by SPSS for Windows. The result of this study were as follows : Prevalence of depression was 38.8%. There were 4 factors associated with depression. Elderly age was statistical significant related with depression at p<0.05,duration after stroke was statistical significant related depression at p<0.05. Activities Daily Living was statistical significant related with stroke at p<0.001,and social support was statistical negative related with depression every subscale at p<0.001 .After anlyzed by Stepwise multiple regression, factors still predicted depression were duration after stroke statistical significant at p<0.05,Activities Daily Living statistical significant at p<0.001,and social support statistical significant at p<0.05. en
dc.format.extent 852910 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความซึมเศร้า en
dc.subject อัมพาตครึ่งซีก en
dc.subject กายภาพบำบัด en
dc.title ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ en
dc.title.alternative Prevalence of depression after stroke in physical rehabilitation patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตเวชศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor fmednta@md2.md.chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record