Abstract:
วิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบพันธุ์และข้อมูลทางด้านการสืบพันธุ์ ของฝูงสุกรพันธุ์แท้จากฟาร์มเอกชนซึ่งเป็นได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ ดูรอค และยอร์กเชียร์ จำนวน 739, 710, 317 และ 272 ตัว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536-2544 ด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) ผลการวิเคราะห์ทั้ง 4 พันธุ์ มีค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความหนาไขมันสันหลัง ลักษณะจำนวนลูกแรกเกิดทั้งหมด และลักษณะจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต มีค่าอยู่ระหว่าง 0.4791 ถึง 0.5138, 0.1119 ถึง 0.1474 และ 0.0864 ถึง 0.1396 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและลักษณะปรากฏระหว่างลักษณะความหนาไขมันสันหลังและจำนวนลูกแรกเกิดทั้งหมด มีค่าอยู่ระหว่าง -0.0515 ถึง 0.1411 และ 0.0117 ถึง 0.1237 ตามลำดับ และค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและลักษณะปรากฏ ระหว่างลักษณะความหนาไขมันสันหลังและจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต มีค่าอยู่ระหว่าง -0.0516 ถึง 0.1541 และ 0.0111 ถึง 0.1250 ตามลำดับ การคัดเลือกสุกรพ่อแม่พันธุ์ให้มีมันบาง มีผลตอบสนองโดยตรง คือความหนาไขมันสันหลังลดลง มีค่าระหว่าง 0.0001+-0.0001 ถึง 0.0042+-0.0019 มิลลิเมตรต่อปี และผลตอบสนองทางอ้อมต่อลักษณะจำนวนลูกแรกเกิดทั้งหมด (TB[subscript 1]) และจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต (BA[subscript 1]) ลำดับครอกที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.0056+-0.0004 และ 0.0055+-0.0005 ตัวต่อปี ตามลำดับ เมื่อใช้ข้อมูล 3 ครอก ผลตอบสนองทางอ้อมต่อลักษณะจำนวนลูกแรกเกิดทั้งหมด (TB[subscript 1-3]) และจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต (BA[subscript 1-3]) มีค่าเท่ากับ -0.0053+-0.0014 และ -0.0020+-0.0011 ตัวต่อปี ตามลำดับ เมื่อใช้ข้อมูล 5 ครอก ผลตอบสนองทางอ้อมต่อลักษณะจำนวนลูกแรกเกิดทั้งหมด (TB[subscript 1-5]) และจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต (BA[subscript 1-5]) มีค่าเท่ากับ -0.0027+-0.0005 และ -0.0001+-0.0004 ตัวต่อปี ตามลำดับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การคัดเลือกให้ความหนาไขมันสันหลังลดลง ไม่มีผลต่อจำนวนลูกแรกเกิดทั้งหมด และจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต ในลำดับครอกที่ 1 (TB[subscript 1] และ BA[subscript 1]) ในสุกรทุกพันธุ์ แต่มีผลให้จำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิตของแม่สุกรที่ให้ลูกถึงลำดับครอกที่ 3 (BA[subscript 1-3]) ในสุกรพันธุ์ยอร์กเชียร์ และจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิตของแม่สุกรที่ให้ลูกถึงลำดับครอกที่ 5 (BA[subscript 1-5]) ในสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซลดลง