DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ เจิ่งประภากร
dc.contributor.advisor สุนทรา พันธ์มีเกียรติ
dc.contributor.author ชาตรี ชะโยชัยชนะ, 2507-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-05-27T07:59:34Z
dc.date.available 2006-05-27T07:59:34Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741722249
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/102
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าระยะทางและค่ามุมที่วัดได้จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะ 5 โปรแกรม เปรียบเทียบกับการวัดด้วยมือ ตามเกณฑ์ของ สไตเนอร์ และเกณฑ์ของ ริกเกทส์ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 32 คน อายุระหว่าง11-27 ปี(เฉลี่ย 16.06 ปี) ฟันอยู่ในระยะฟันแท้ ไม่มีฟันคุดหรือพยาธิสภาพมาบังทับรากฟันหน้าและฟันกรามแท้ซี่แรก นำภาพรังสีมาทำการลอกลายและกำหนดจุดอ้างอิงตามวิธีการวิเคราะห์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 5 โปรแกรมคือ 1.Dentofacial planner, 2.Quick-ceph image, 3.RMO's Jiffy Orthodontic Evaluation, 4.Compu-ceph, 5.OTP รวมทั้งวิเคราะห์ด้วยมือจากภาพลอกลาย ทำการวัดค่าระยะทางและค่ามุมตามเกณฑ์ของ สไตเนอร์ 9 ค่า และเกณฑ์ของ ริกเกทส์ 9 ค่า และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทำการทดสอบความแตกต่างพหุคูณ(Multiple comparison tests) แบบ Post Hoc test ตามวิธี Tukey ผลการวิจัยพบความแตกต่างของค่า POG-NB(mm.)ของโปรแกรมJOEและค่า U6-PTV(mm.),L1-APO(deg.) และ Facial axis angle(deg.) ของโปรแกรม Compu-ceph ซึ่งมีเพียง 4 ค่าจากค่าตัวแปรที่ใช้ทั้งหมด18 ค่าทำให้สรุปได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทั้ง 5 โปรแกรม สามารถที่จะใช้ทดแทนการวิเคราะห์ด้วยมือได้ การเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดควรพิจารณาความเหมาะสมที่ใช้และควรศึกษาวิธีการขั้นตอนการใช้ของโปรแกรมโดยละเอียด รวมทั้งข้อจำกัดและคำนิยามที่แตกต่างของค่าตัวแปรของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ ผู้ใช้ควรฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะเป็นอย่างดี เพื่อลดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการกำหนดจุดอ้างอิง (Landmark identification) เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะ ได้อย่างถูกต้อง en
dc.description.abstractalternative The objective of this study was designed to determine the different of measurements obtained from five computer cephalometric programs as compared to measurements of manual method. Thirty - two lateral cephalograms was selected from patients of Orthodontic Department of Faculty of Dentistry of Chulalongkorn University by purposive sampling (8 males and 24 females) age 11-27 tyears (Average 16.06 years) who have permanent teeth, no embedded tooth, no pathology that can overlap the root area of incisors and first permanent molar. And then make a manual tracing and landmark identification by direction method of five computer programs: 1.Dentofacial planner, 2.Quick-ceph image, 3.RMO's Jiffy Orthodontic Evaluation, 4.Compu-ceph, 5.OTP. Means, Standard deviations was calculated from following of the linear and angular measurements in the Steiner analyses and Ricketts analyses are compared 18 variables by One-way Anova at 0.05 significance level, and the different of measurements under the six methods were test by multiple comparisons using Post Hoc Tukey test. The research results were found the different of 4 variables from 18 variables : POG-NB(mm.) of program JOE , U6-PTV (mm.),L1-APO (deg.)and Facial axis angle (deg.) of program Compu-ceph that means in clinical uses we can use these five computerized cephalometric analysis programs instead of manual method if the user understand the details of using each program and have basic knowledge of definitions and landmark identifications. en
dc.format.extent 4825329 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.592
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การบันทึกภาพด้วยรังสี en
dc.subject กะโหลกศีรษะ--การบันทึกภาพรังสี en
dc.subject ทันตกรรมจัดฟัน en
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ en
dc.title.alternative A comparative study of cephalometric analysis by computer programs and manual method en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline ทันตกรรมจัดฟัน en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Somsak.C@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.592


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record