Abstract:
ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม ประชาธิปไตยของวัยรุ่นตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้นจำนวน 200 คน อายุ 18-21 ปี ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งของภาครัฐบาลและภาคเอกชน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มาตรวัดการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งพัฒนาโดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามรูปแบบการวิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของ Baumrind และแบบวัดพฤติกรรมประชาธิปไตย นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบขั้นตอน (Stepwise) โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Science) ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ปรากฏว่า มีตัวแปร 4 ตัวแปร จาก 7 ตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมประชาธิปไตยของวัยรุ่นตอนปลาย ได้ร้อยละ 37.3 ซึ่งได้แก่ปัจจัยดังต่อไปนี้คือ (1) การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (2) การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุม (3) เพศ และ (4) การรับรู้ข่าวสารประชาธิปไตย