Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าช่องไม่ลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งของกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตขอไทยมีเจตนารมณ์ในการจัดทำเป็นอย่างไรและปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมในเขตเลือกตั้งต่างๆ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สิทธิในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ วิธีการศึกษาวิเคราะห์ได้อาศัยการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการเอกสารทางราชการ และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าเจตนารมณ์ในการจัดทำช่องไม่ลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของกฎหมายหรือกระบวนการการเลือกตั้งเอง และทั้งที่ผู้ที่มีเจตนาทุจริตกระทำให้เกิดขึ้น อีกทั้งเพื่อต้องการให้ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนกลายมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางการเมืองจากภาคประชาชนไปถึงฝ่ายการเมืองเพื่อการพัฒนาการเมืองไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยเจตนารมณ์ในการจัดทำช่องไม่ลงคะแนนนั้นหาได้มีความเกี่ยวข้องกับการที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่แต่อย่างใด สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม จากการศึกษาพบว่าลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมมีแนวโน้มในการกำหนดอัตราร้อยละของผู้ใช้สิทธิ์ในช่องไม่ลงคะแนนในเขตเลือกตั้งต่างๆ กล่าวคือถ้าระดับทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในเขตเลือกตั้งมีระดับค่อนข้างสูง อัตราร้อยละของผู้ใช้สิทธิในช่องไม่ลงคะแนนก็มีแนวโน้มว่าจะสูงตามไปด้วยและในทางกลับกันเมื่อประชาชนมีระดับทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำก็มี แนวโน้มว่าอัตราร้อยละของผู้ใช้สิทธิในช่องไม่ลงคะแนนก็จะน้อยลงไปด้วย แต่สำหรับในขางเขตเลือกตั้งที่มิได้เป็นไปตามรูปแบบกังกล่าว ก็เนื่องมาจากปัจจัยระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต การแข่งขันทางการเมือง การปลุกระดมทางการเมืองทั้งจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง สื่อมวลชน หรือนักวิชาการในพื้นที่เลือกตั้ง ที่เป็นไปอย่างรุนแรงจนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในช่วงใกล้วันเลือกตั้งนั่นเอง