Abstract:
จากการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสในกลุ่มชาวบ้านตำบลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ไปลอกหนองน้ำซึ่งมีการเลี้ยงโค กระบือ โดยรอบ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 542 โดยพบว่ามีเชื้อ Leptospira borgpetersenii serogroup Sejroe เป็นสาเหตุสำคัญ จึงสำรวจจำนวนโคและกระบือทุกตัวที่เลี้ยงในบริเวณนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะโรคเลปโตสไปโรสิสทางซีรั่มวิทยาและความ เป็นไปได้ของการแพร่เชื้อเลปโตสไปรามาสู่คน โดยเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในซีรั่มและเก็บตัวอย่าง ปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อเลปโตสไปรา ผลการศึกษาในโค 20 ตัวกระบือ 36 ตัว จากการตรวจด้วยวิธี Microscopic Agglutination Test (MAT) เชื้อที่ตรวจพบมากสุดคือ เชื้อ L. borgpetersenii serovar (56.25%) รองลงมาคือ sejroe (37.5%) ที่เหลือได้แก่ ballum, L. interrogans serovar (pomona, autumnalis strain Akiyami A, copenhageni) และ L. biflexa serovar andamana strain CH-1 เมื่อตรวจปัสสาวะด้วยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) เพื่อตรวจหา 16S (rRNA) gene พบว่าให้ผลบวด 9 ตัวอย่าง (16.1%) และได้ตรวจพบเชื้อ L.borgpetersenii serovar sejroe จากปัสสาวะของโค 1 ตัว และ L. interrogans serovar bratislava จากปัสสาวะของกระบือ 1 ตัว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโค กระบือเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญของการเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสในคน ควรปรับวิธีการควบคุมโรคในปศุสัตว์ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น