Abstract:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ผลของรูเปิดบนครอบฟัน และชนิดของซีเมนต์ ต่อการยึดเกาะของฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์ วัสดุและวิธีการวิจัย: ยึดรากเทียมระบบ Spline (Calcitek, Carlsbad, CA) ในแท่งเรซิน ที่ละคู่จำนวน 4 ชุด ขันตัวหลัก ไททาเนียมเข้ากับตัวรากเทียมด้วยประแจควบคุมแรงบิดที่ 28.2 นิวตัน-ซ.ม. สร้างครอบฟันด้วยโลหะผสมนิเกิลโครเมียม ยึดครอบฟันโดยใช้ซีเมนต์สามชนิดคือ HY-Bond(R) (ซิงก์ฟอสเฟตซีเมนต์), IRM(R) (ซิงค์ออกไซด์ยูจินอลซีเมนต์เสริมแรงอัด) และ Resiment(R) (เรซินซีเมนต์) นำไปทำเทอร์โมไซคลิง (Thermocycling) ที่อุณหภูมิ 5 ํC, อุณหภูมิห้อง และที่ 55 ํC ใช้เวลา 30 วินาทีในแต่ละอุณหภูมิ จำนวน 1500 รอบ นำไปทำ ไซคลิกโหลดดิง (Cyclic loading) ด้วยเครื่อง Dynamic UTM Instron กำหนดแรงกดต่ำสุดและสูงสุด ที่ 125 และ 290 นิวตัน ตามลำดับ ความถี่ 5 Hz. จำนวน 100,002 รอบ นำไปทดสอบการดึงด้วยเครื่อง UTM Instron ที่ความเร็วในการดึง 5 มม./นาที จนครอบฟันหลุด บันทึกค่าที่ได้ไว้เพื่อนำไปคำนวณหาค่าเฉลี่ยแรงดึงที่ทำให้ครอบฟันหลุด จากนั้นเจาะรูบนครอบฟันแล้วทำการทดสอบในลักษณะเดียวด้วยซีเมนต์ทั้งสามชนิด แล้วนำผลทั้งหมดไปวิเคราะห์หาความแตกต่างทางสถิติ ด้วย Mann-Whitney U Test ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % (p is less than or equal to 0.05) ผลการทดลอง: ค่าเฉลี่ยแรงดึงที่ทำให้ครอบฟันหลุดในแต่ละชนิดของซีเมนต์ (n=10) ดังนี้ เมื่อไม่มีการเจาะรูที่ตัวครอบฟัน เรียงจากมากไปน้อยตามชนิดของซีเมนต์ IRM(R),Resiment(R) และ HY-Bond(R) มีค่า 254.44 +- 63.33, 233.50 +- 70.72 และ 191.22 +- 64.24 นิวตัน ตามลำดับ เมื่อทำการเจาะรูบนตัวครอบฟัน เรียงจากมากไปน้อยตามชนิดของซีเมนต์ Resiment(R),IRM(R) และ HY-Bond(R) มีค่า 312.72 +- 85.78 , 236.30 +- 77.16 และ 152.67 +- 54.98 นิวตัน ตามลำดับ วิเคราะห์ความแตกต่างที่ละคู่ทางสถิติ ได้ผลดังนี้ ค่าเฉลี่ยของแรงดึงที่ทำให้ครอบฟันหลุดระหว่างการที่มีกับไม่มีรูเปิดบน ครอบฟันไม่มีความแตกต่างกันเมื่อยึดด้วย HY-Bond(R) และ IRM(R) แต่มีความแตกต่างกันเมื่อยึดด้วย Resiment(R) กรณีไม่มีรูเปิดบน ครอบฟัน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างซีเมนต์ทุกชนิด แต่ในกรณีมีรูเปิดบนครอบฟัน พบว่ามีความแตกต่างระหว่าง HY-Bond(R) กับ IRM(R) และมีความแตกต่างระหว่าง HY-Bond(R) กับ Resiment(R) แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่าง IRM(R)กับ Resiment(R) สรุปผลวิจัย: รูเปิดบนครอบฟันมีผลต่อค่าการยึดเกาะของฟันปลอมเมื่อทำการยึดด้วย Resiment(R) แต่ไม่มีผลเมื่อทำการยึดด้วย HY-Bond(R) และ IRM(R) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กรณีไม่มีรูเปิดบนครอบฟันพบว่าชนิดของซีเมนต์ไม่มีผลต่อการยึดเกาะของ ฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กรณีมีรูเปิดบนครอบฟันพบว่าชนิดของซีเมนต์ มีผลต่อการยึดเกาะของฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%