Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการแสดงบทบาทตามความคาดหวัง ของพนักงานสอบสวน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการแสดงบทบาทตามความคาดหวังของพนักงานสอบสวน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย พนักงานสอบสวนที่รับราชการอยู่ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ไคสแควร์ และแกมมา เพื่อนำมาทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภูมิหลังทางสังคม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเป็นพนักงานสอบสวน อัตราเงินเดือน ระดับชั้นยศ และปริมาณงานที่รับผิดชอบ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการแสดงบทบาทตามความคาดหวังของพนักงานสอบ สวน มีเพียงระดับการศึกษาและปริมาณงานที่รับผิดชอบที่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติกับการแสดงบทบาทตามความคาดหวังของพนักงานสอบสวน นอกจากนี้ จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโครงสร้างสถานีตำรวจกับการแสดง บทบาทตามความคาดหวัง พบว่าปัจจัยด้านโครงสร้างสถานีตำรวจทุกตัว ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการทำงาน ความมีอิสระในการทำงาน และความจำเจในการทำงาน มีความสัมพันธ์อย่างสูงกับการแสดงบทบาทตามความคาดหวังของพนักงานสอบสวน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการแสดงบทบาทตามความคาดหวังของพนักงานสอบสวน คือ ความจำกัดในด้านงบประมาณ กำลังพลที่ลดลงจากการย้ายโอนไปดำรงตำแหน่งอื่น สายการบังคับบัญชาขาดความยืดหยุ่น และระเบียบการต่างๆ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดออกมาไม่มีความสอดรับกับตัวบทกฎหมาย