DSpace Repository

การฟ้อนของชาวไทลื้อจังหวัดน่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิชชุตา วุธาทิตย์
dc.contributor.author ปิยมาศ ศรแก้ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคเหนือ)
dc.coverage.spatial น่าน
dc.date.accessioned 2009-08-31T09:16:05Z
dc.date.available 2009-08-31T09:16:05Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741702213
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10829
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract การฟ้อนของชาวไทลื้อจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการการฟ้อนของหญิงและชายไทลื้อ รวมถึงวิเคราะห์ลักษณะท่าฟ้อน โดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์ การสังเกตจากภาพถ่าย ภาพวีดีทัศน์ ตลอดจนการฝึกหัดของผู้วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญการฟ้อนในแต่ละชุด ผลจากการศึกษาพบว่า ฟ้อนของชาวไทลื้อมีด้วยกัน 5 ชุด คือ ฟ้อนอิสระ ฟ้อนมูเซอ ฟ้อนพม่า ฟ้อนเจิง ซึ่งเป็นฟ้อนแบบดั้งเดิม และฟ้อนไทลื้อ เป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ สำหรับฟ้อนอิสระนั้นเป็นรากเหง้าของการฟ้อนทั้ง 4 ชุด ที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้ ฟ้อนมูเซอและฟ้อนพม่าเป็นการฟ้อนแห่เครื่องครัวทานในเทศกาลงานบุญต่างๆ ส่วนฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนอวดฝีมือในเชิงการต่อสู้ของผู้ชายไทลื้อ และฟ้อนไทลื้อเป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อฟ้อนในงานบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า การฟ้อนของชาวไทลื้อ มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ การยืดและยุบตัวไม่เน้นการกระทบเข่าที่แรง มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ใช้การเบี่ยงลำตัวไปด้านข้าง และบังคับส่วนของนิ้วมือไม่มากนัก นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าฟ้อน 4 ชุด ที่มีพัฒนาการโดยได้รับอิทธิพลภายนอกที่แตกต่างกัน มีลักษณะเด่นดังนี้ ฟ้อนมูเซอ ใช้การก้าวเท้าที่มีช่วงความกว้างระหว่างเท้าทั้งสองข้างมาก ประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถเอนลำตัวไปด้านข้างได้มาก และมีการเบนปลายเท้า ใช้การบิดลำตัวและตีไหล่ ช่วยในการเปลี่ยนทิศทางในการฟ้อนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ฟ้อนพม่า มีการทรงตัวที่เน้นการโน้มลำตัวไปด้านหน้า เอนลำตัวไปด้านข้าง และเบี่ยงลำตัวออกด้านข้างประมาณ 45 องศาขณะเคลื่อนไหว และในการก้าวเท้ามีลักษณะเหมือนครึ่งวงกลมเพื่อให้สัมพันธ์กับลำตัวที่เบี่ยงไปด้านข้าง ฟ้อนเจิงเน้นการทรงตัวโดยเบี่ยงลำตัวไปด้านข้าง การใช้ลำตัวโน้มไปด้านหน้ามากจนในบางท่าฟ้อนลำตัวขนานกับพื้น และใช้การกระโดดสปริงตัวก่อนการก้าวเท้าและนั่งลง ฟ้อนไทลื้อ เน้นการขย่มตัวเบาๆ ตามจังหวะในท่านั่งฟ้อนขณะเปลี่ยนการปฏิบัติของมือ และใช้ท่ามือตั้งวงบนหน้าตักข้างหนึ่ง จีบส่งหลังข้างหนึ่ง เป็นการเคลื่อนไหวในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนอิริยาบถ จากท่ายืนเปลี่ยนเป็นท่านั่ง หรือจากท่านั่งเปลี่ยนเป็นท่ายืน การฟ้อนของชาวไทลื้อ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต ดังนั้น จึงควรนำออกเผยแพร่แก่สาธารณชนให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มนี้สืบไป en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to investigate the background and the development of the dance of Tai Lue performed by both males and females. It also analyses dance positions and steps by examining documents, research, interviews, photos and videos as well as through actual practice with a dance expert. The results show that there are five dances of Tai Lue. The Free Dance, Moo-sur Dance, Bhama Dance, Jerng Dance are the original dances while Tai Lue Dance is a newly choreographed one. The Free Dance is the origin of the other four dances. Each dance has its own unique positions. For example, the Moo-sur Dance and Bhama Dance is performed in any merit making festival with dancers in columns holding cooking utensils. The Jerng Dance presents Tai Lue males' fighting abilities, and the Tai Lue Dance is performed in a ceremony to pay homage to the spirit of the King of La. The Tai Lue Dance shares some typical positions. The performers need to stretch and lower their bodies. There is a continuous movement, bending the body and legs slightly from side to side along with finger movements mudras. Moreover, it was found the four dance sets were influenced by different factors which affected their development. The outstanding features are as follows: the Moo-sur Dance was a step which is 90 cm. wide between the two legs so performers can bend their body to each side and turn their feet. So they can twist and move their shoulders forward. This will help the dancers change their dance positions from one side to the other. The Bhama Dance emphasizes dances bending forward and reclining from side to side at a 45 degree angle while moving. When performing the Bhama Dance, performers need to make a semi-circle step that corresponds with the body turn. The Jerng Dance focuses on dancers posing to the side and bending forward. Sometimes the dancers might even lie on the floor. In addition, the performers have to jump slightly before stomping their feet and sitting down. The Tui Lue Dance emphasizes a slight jump in a stoop moving corresponding with the rhythm before sitting and moving hands to form taa-tung-wong (mudras) on their lap. Jeep-song-laang (another dance posture) is the first movement before changing from standing to sitting or vice versa. The dance of Tai Lue is an important part in the Tai Lue way of life. Thus, it should be publicized to the public so that it will be preserved as a cultural treasure. en
dc.format.extent 12906782 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การรำ -- ไทย -- น่าน en
dc.subject ชาวไท en
dc.title การฟ้อนของชาวไทลื้อจังหวัดน่าน en
dc.title.alternative Dance of Tai Lue in Nan Province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Vijjuta.V@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record